Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67330
Title: The relationships among test-takers' variables and English reading comprehension ability of Thai university students using a computer-based test
Other Titles: ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรผู้สอบและความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา
Authors: Prateep Kiratibodee
Advisors: Kanchana Prapphal
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Subjects: Reading comprehension
English language -- Examinations
English language -- Computer-assisted instruction for foreign speakers
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2005
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aimed to investigate (1) the relationships among three selected variables, namely computer attitudes, computer anxiety, and computer familiarity, (2) the relationships between those three variables and reading comprehension computer-based test performance, and (3) the extent to which the three variables individually or in combination predict the reading comprehension computer-based test scores. Two research instruments were used in this study. A Computer Attitudes, Familiarity, and Anxiety Rating Scale (CAFARS) was used to collect data on the three variables while a Reading Comprehension Computer-Based Test (RC-CBT) was used to evaluate students' performance. Both instruments were administered to 90 students at Dhurakij Pundit University. These students were randomly selected and divided equally into high, average, and low English language ability groups according to their average achievement scores in Foundation English courses. Pearson correlation coefficients were calculated to estimate the strength and the significance of the relationships among the three variables and the RC-CBT scores. Multiple regression analysis was conducted to predict the influences of the three independent variables on the RC-CBT performance. The results of the analyses revealed that : (1) there are significant relationships among the three variables of students of high, low, and combined language ability groups at .05 level, (2) computer attitudes and computer anxiety werefound to be significantly correlated with RC-CBT scores of students with all levels of language ability at .05 level while computer familiarity was significantly correlated with RC-CBT scores of students of average, low, and combined language ability groups at .05 level, and (3) computer familiarity was found to be the only significant predictor of RC-CBT scores of students of the average and combined language ability groups with R²of .384 (p < .05) and R² of .190 (p < .05) respectively while computer attitudes were found to be a significant predictor of RC-CBT scores of students with high language ability with R² of .409 (p < .05). The findings also provided further evidence that the use of computer-based tests was much preferred by the sample.
Other Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสามตัวซึ่งได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อคอมพิวเตอร์ ความเครียดจากคอมพิวเตอร์ และความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสามตัวกับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ และ (3) ความสามารถในการทำนายของตัวแปรอิสระที่มีต่อผลคะแนนการสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวิจัยในการศึกษามี 2 ชุด ชุดแรกเป็นแบบสอบถามซึ่งเป็นเครื่องมือใช้วัดระดับของทัศนคติที่มีต่อคอมพิวเตอร์ ความเครียดจากคอมพิวเตอร์ และ ความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ (CAFARS) ชุดที่สองเป็นข้อสอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ (RC-CBT) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 90 คนที่สุ่มเลือกจากนักศึกษาปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ผู้วิจัยได้แบ่งนักศึกษากลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มย่อยตามระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษสูงกลาง และต่ำ กลุ่มละ 30 คน และอีกหนึ่งกลุ่มที่รวมทั้งสามกลุ่มย่อยเข้าด้วยกันโดยใช้คะแนนสอบเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคนเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มผู้วิจัยใช้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการประเมินระดับและนัยสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทั้งสามและตัวแปรตามและใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ เพื่อทำนายอิทธิพลของตัวแปรทั้งสามที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระทั้งสามมีนัยสำคัญในระดับ .05 ในกลุ่มนักศึกษาที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษสูง ต่ำ และกลุ่มรวม (2) ทัศนคติที่มีต่อคอมพิวเตอร์และความเครียดจากคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ในนักศึกษา ทั้งสี่กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในขณะที่ความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ เป็นตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ในกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับกลาง ระดับต่ำ และกลุ่มรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ (3) ความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์เป็นตัวแปรอิสระตัวเดียว ที่สามารถทำนายผลคะแนนสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ของกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับกลางและกลุ่มรวม โดยสามารถทำนายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 38.4 (R²= .384, p < .05) และร้อยละ 19.0 (R²) = .190, p < .05) ตามลำดับ ในขณะที่ทัศนคติที่มีต่อคอมพิวเตอร์เป็นตัวแปรอิสระตัวเดียวที่สามารถทำนายผลคะแนนสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับสูง โดยสามารถทำนายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 40.9 (R²= .409, p < .05) ผลการศึกษายังชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างชอบการสอบด้วยแบบสอบคอมพิวเตอร์มากกว่าการสอบแบบเดิม
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2005
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: English as an International Language
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67330
ISBN: 9745327352
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prateep_ki_front_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Prateep_ki_ch1_p.pdf914.97 kBAdobe PDFView/Open
Prateep_ki_ch2_p.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Prateep_ki_ch3_p.pdf928.64 kBAdobe PDFView/Open
Prateep_ki_ch4_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Prateep_ki_ch5_p.pdf865.86 kBAdobe PDFView/Open
Prateep_ki_back_p.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.