Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6762
Title: การกำหนดวาระของหนังสือพิมพ์กับการใช้ประโยชน์จากข่าวสารทางเศรษฐกิจของประชาชนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2542
Other Titles: Newspaper agenda setting and utilization of economic news during July to September 1999 economic crisis
Authors: จิดารัตน์ แดงเดช
Advisors: เสถียร เชยประทับ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: satien.c@chula.ac.th
Subjects: หนังสือพิมพ์ -- การกำหนดวาระข่าวสาร
ข่าวเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์เนื้อหา
การเปิดรับข่าวสาร
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่า การกำหนดวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจระหว่างหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป กับหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจมีความสอดคล้องกันหรือไม่ และต้องการศึกษาว่าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไปและรายวันธุรกิจเป็นผู้กำหนดวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป และรายวันธุรกิจหรือไม่ และอย่างไร รวมทั้ง วิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางเศรษฐกิจ และหาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจต่อข่าวสารที่ได้รับจากหนังสือพิมพ์ ระเบียบวิธีวิจัยในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์ในเชิงปริมาณความถี่ เนื้อที่ และน้ำหนักความสำคัญของหัวข้อข่าวสารทางเศรษฐกิจที่นำเสนอในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2542 (2) การวิจัยเชิงสำรวจปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจที่มีต่อข่าวสาร และความสำคัญของหัวข้อข่าวสารทางเศรษฐกิจที่ประเมินโดยกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป และกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจ (3) การสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่ทำงานอยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารทางเศรษฐกิจในเรื่องการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจต่อข่าวสารที่ได้รับและความสำคัญของหัวข้อข่าวสารทางเศรษฐกิจที่ประเมินโดยผู้ให้สัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า: 1. วาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไปไม่สอดคล้องกับวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจ 2. วาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือของหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไปไม่สอดคล้องกับวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป 3. วาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจไม่สอดคล้องกับวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจ 4. วาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจกับวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจสอดคล้องไม่แตกต่างกับวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไปกับวาระข่าวสารทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป 5. ปัจจัยส่วนบุคคลในด้าน อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางเศรษฐกิจจากหนังสือพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ของประชาชนมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากข่าวสารทางเศรษฐกิจของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.2815) 7. พฤติกรรมการเปิดรับและใช้ประโยชน์ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ของประชาชนมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อข่าวสารทางเศรษฐกิจของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r ของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร = 0.2737 และ r ของการใช้ประโยชน์จากข่าวสาร = 0.6605) 8. กลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป กับกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจได้ใช้ประโยชน์จากข่าวสารทางเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันธุรกิจ มีความพึงพอใจต่อข่าวสารทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากหนังสือพิมพ์น้อยกว่ากลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the consistency of economic agendas set by general daily newspapers and business daily newspapers. The study also explored whether the general daily newspapers and business daily newspapers set the economic agendas for public. Besides, the study was aimed to analize readers' personal attributes and exposure behavior to economic news, as well as to find out the correlation between media exposure, utilization and gratification of newspapers' information. The following research methodologies were employed : 1). Content analysis of newspapers published during July 1 to September 30, 1999. Frequency, space and degree of importance of news articles were units of enumeration used. 2). Survey research on media exposure, utilization and gratification by readers of general and business dailies. 3). Depth interview of the persons whose economic activities were related to media exposure, utilization and gratification. The findings showed that: 1). Economic agendas of the general daily newspapers and of the business daily newspapers were not significantly correlated. 2). Economic agendas of the general daily newspapers and of readers of general daily newspapers were not significantly correlated. 3). Economic agendas of the business daily newspapers and of readers of business daily newspapers were not significantly correlated. 4). The correlation between the economic agendas of the business daily newspapers and of readers of business daily newspapers were not significantly different from the correlation between the economic agendas of the general daily newspapers and of readersof general daily newspapers. 5). Different personal attributes such as ages, career and monthly incomes led to significant difference in economic information exposure at 0.05 level. 6). The correlation between media exposure and utilization of economic information was significant at 0.05 level. 7). Exposure to and utilization of economic information in newspapers were significantly related to gratificationat 0.05 level. 8). Readers of general dailies and of business dailies were not different from one another in terms of utilization of economic information. However, readers of business dailies were less gratified with economic information than readers of general dailies at 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.40
ISBN: 9743346015
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.40
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jidarat.pdf13.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.