Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67633
Title: ผลกระทบของการประกาศข่าวทางเศรษฐกิจต่ออัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)
Other Titles: The impact of macroeconomic news announcements on exchange rate (Bath/US dollar)
Authors: จักรกฤษณ์ หังสพฤกษ์
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
Advisor's Email: Chayodom.S@chula.ac.th
Subjects: พยากรณ์เศรษฐกิจ
อัตราแลกเปลี่ยน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อทดสอบการตอบสนองของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่มีต่อการที่ตลาดฯ รับทราบข้อมูลความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวทางเศรษฐกิจ (Forecasting Error) โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนรายวัน บาทต่อดอลลาร์สหรัฐกับความคลาดเคลื่อนจ ากการคาดการณ์ข่าวทางเศรษฐกิจแต่ละชนิด ของประเทศไทย 7 ชนิด และประเทศสหรัฐฯ 7 ชนิด ลำดับต่อมา ได้จัดแบ่งความคลาดเคลื่อน จาการคาดการณ์ข่าวที่เป็นบวก หรือข่าวดี และความคลาดเคลื่อนจากการ คาดการณ์ข่าวที่เป็นลบ หรือข่าวร้ายของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ ลำดับต่อมา จัดความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวทาง เศรษฐกิจเป็น ของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ หลังจากนั้นศึกษาความแปรปรวนที่เกิดขึ้น โดยทำการศึกษาในช่วงระยะเวลา 1 พฤษภาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2546 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน กับ ความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวชนิดต่างๆ พบว่า มีเพียง บางข่าวของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้ ประเทศไทย ได้แก่ ข่าวดุลการค้า ข่าวดุลบัญชี เดินสะพัด ข่าวผลิตกัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ข่าวดัชนีราคาผู้ผลิต ข่าวดัชนีราคาผู้บริโภค พบว่าข่าวดัชนีราคาผู้บริโภค มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ข่าวดุลบัญชีเดินสะพัด ข่าวดัชนีราคาผู้บริโภค ข่าวอัตราการว่างงาน พบว่าข่าวอัตราการว่างงานมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด เมื่อพิจารณาความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวที่เป็นบวก หรือข่าวดี และความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวที่เป็นลบ หรือข่าวร้ายของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ พบว่าตลาดฯ มีการตอบสนองที่ไม่เท่าเทียมกัน (Asymmetric Response) ดังนี้ตลาดฯ จะ ตอบสนองต่อข่าวร้ายที่มาจากประเทศไทย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัว แต่ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไม่ตอบสนองต่อข่าวดีจากประเทศไทย ผลการศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนรายวันกับความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวของประเทศไทย และประเทศสหรัฐฯ พบว่าตลาดฯ มีการตอบสนองที่เท่าเทียมกัน (Symmetric Response) เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนรายวัน พบว่ามีความแปรปรวนสูง อันเนื่องมาจากตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีการตอบสนองต่อปัจจัยต่าง ๆ นอกเหนือจากความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวที่ใช้ในงานวิจัยนี้ และพบว่าความแปรปรวนในปัจจุบัน (Variance) มีความสัมพันธ์กับความแปรปรวนในอดีต และความคลาดเคลื่อนในอดีต (Error Term) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนจากการคาดการณ์ข่าวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะข่าวร้ายของประเทศไทย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน มีการแกว่งตัวขึ้นลง ในระยะสั้นผู้รับผิดชอบนโยบายการเงินควรทำการแทรกแซงเพื่อป้องกันหรือลดความผันผวน พร้อมทั้งควบคุมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่มีธุรกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการเก็งกำไร ในระยะยาวผู้รับผิดชอบนโยบายการเงิน ควรวิเคราะห์หาสาเหตุของความผันผวน รวมถึงการคาดคะเนและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถวางนโยบายการเงินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับนักลงทุนควรทำการประเมินความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น Value at Risk เป็นต้น หลังจากนั้นจึงเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น Forward Swap Option เป็นต้น
Other Abstract: The objective of this study is to test the reaction of the foreign exchange market to forecasting error caused by changes in macroeconomic indicators. The relation between the daily movement of the US dollar to Thai baht (USD/THB) exchange rate and forecasting errors of seven macroeconomic indicators in the US and Thailand were used. The seven macroeconomic indicators are: balance of trade, current account, gross domestic product, producer price index, consumer price index, inflation rate and unemployment rate. Forecasting errors are divided into good news and bad news for each country and whether the news came from the US or Thailand. The study covers Thailand and the US from May 1, 2000 to December 31, 2003 and examines the daily movement and volatility of the THB/US exchange rate. The first model shows that only some forecasting errors from Thailand have a statistically significant correlation with the daily movement of exchange rate. The consumer price index was found to have the greatest impact on the daily movement of the exchange rate. Some forecasting errors from the U S have a statistically significant correlation. The unemployment rate was found to have the greatest impact on the daily movement o f the exchange rate. The second model examines the effect of good news and bad news from Thailand. Forecasting errors have an asymmetric response in the foreign exchange market. Therefore, the foreign exchange market responds to bad news from Thailand and the Thai baht depreciates relative to the US dollar. However, the foreign exchange market does not respond to the good news from Thailand. The third model shows if the source of news is important; the foreign exchange market has a symmetric response for the news from the US or Thailand. Moreover, the daily movements of the exchange rates are highly volatile because the foreign exchange market reacts to other factors and the present variance has a statistically significant correlation with the previous variance and error term. The implications of this study are useful for both policy makers and investors. Forecasting errors of macroeconomic indicators, especially bad news from Thailand, do affect exchange rate volatility. In the short run, policy makers should to intervene in order to reduce the exchange rate volatility. In addition, they should control foreign exchange transactions. In the long run, policy makers should determine the cause of volatility, forecasting the results of volatility in order to optimize policy. Investors should measure potential losses by using financial tools such as value at risk (VaR). Investors may then use the financial tools to protect or reduce risk such as forwards, swaps or options.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67633
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1269
ISBN: 9741742991
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1269
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jakkrid_ha_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ868.71 kBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_ch1_p.pdfบทที่ 1756.49 kBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_ch2_p.pdfบทที่ 21.1 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_ch3_p.pdfบทที่ 31.94 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_ch4_p.pdfบทที่ 4945.52 kBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_ch5_p.pdfบทที่ 51.42 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_ch6_p.pdfบทที่ 6777.86 kBAdobe PDFView/Open
Jakkrid_ha_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก936.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.