Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68452
Title: การจำลองผลกระทบของวิธีการเพิ่มและลดความดันต่อการแยกอากาศโดยกระบวนการดูดซับและความดันสลับ
Other Titles: Simulation of effects of pressurization and depressurization methods on air separation by the pressure swing adsorption process
Authors: จิตตะเสน จรูญวัฒนเลาหะ
Email: deacha.c@chula.ac.th
Advisors: เดชา ฉัตรศิริเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การดูดซับ
ก๊าซ -- การดูดซึมและการดูดซับ
ก๊าซ -- การแยก
Adsorption
Gases -- Absorption and adsorption
Gases -- Separation
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของวิธีการเพิ่มและลดความดันที่ใช้ในการแยกอากาศ โดยกระบวนการดูดซับแบบความดันสลับ กระบวนการที่ใช้เป็นการแยกอากาศเพื่อผลิตแก๊สออกซิเจนเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 99 การศึกษาทำโดยจำลองกระบวนการด้วยสมการคณิตศาสตร์ และคำนวณปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ได้ในแต่ละกระบวนการการ เปรียบเทียบกับปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขั้นตอนการดำเนินการแบบพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย การเพิ่มความดันด้วยแก๊สผสม การดูดซับ การลดความดันแบบปล่อยทิ้ง การชะล้าง ขั้นตอนการเพิ่มความดันด้วยแก๊สผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มเติมเข้าไป จะให้ได้ปริมาณแก๊สผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น การลดวามดันแบบเพิ่มผลผลิตที่เพิ่มเติมเข้าไป สามารถดำเนินการลดความดันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปริมาณแก๊สผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในขั้นตอนการชะล้างที่มากเกินพอ จะทำให้ปริมาณแก๊สผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการลดลง ปริมาณแก๊สผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นเมื่อสัดส่วนความดันสูงและความดันต่ำเพิ่มขึ้น เวลาที่ใช้ในการเพิ่มความดัน เวลาที่ใช้ในการลดความดัน สัมประสิทธิ์การแพร่กระจายตามแนวแกน และความดันลดของหอดูดซับ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมของกระบวนการดูดซับแบบความดันสลับ
Other Abstract: The effects of pressurization and depressurization methods in air separation by pressure swing adsorption process to produce pure oxygen (>99%) was studied by using mathematical simulation. The product recovery of each process was compared with basic step process, which include of feed pressurization, adsorption, countercurrent depressurization and purge. The product recovery was increased by the additional product pressurization step. The adsorber pressure reduced by additional concurrent pressurization step could be done in a little amount. Excess product gas that used during purge step reduce product recovery of the process. Increasing of the pressure ratio could be increased the product recovery. The pressurization time, depressurization time, axial dispersion and bed pressure drop had no effects on process performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68452
ISBN: 9746397656
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chittasen_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.11 MBAdobe PDFView/Open
Chittasen_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1749.81 kBAdobe PDFView/Open
Chittasen_ch_ch2_p.pdfบทที่ 2971.97 kBAdobe PDFView/Open
Chittasen_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Chittasen_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.08 MBAdobe PDFView/Open
Chittasen_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5658.61 kBAdobe PDFView/Open
Chittasen_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก842.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.