Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68455
Title: การศึกษาเปรียบเทียบชีวอนุเคราะห์ของผลิตภัณฑ์ยาเม็ดเมทฟอร์มิน ในอาสาสมัครสุขภาพปกติ
Other Titles: Comparative studies of the bioavailability of metformin tablets in healthy volunteers
Authors: สมพงษ์ จันชูผล
Advisors: จันทนี อิทธิพานิชพงศ์
สุมนา ชมพูทวีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เมตฟอร์มิน -- การเอื้อประโยชน์ในร่างกาย
ชีวสมมูลของยา
ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี
Metformin -- Bioavailability
Drugs -- Therapeutic equivalency
High performance liquid chromatography
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเปรียบเทียบชีวอนุเคราะห์ของยาเม็ดเมทฟอร์มินที่ผลิตภายในประเทศไทย กับยาเม็ดเมทฟอร์มินต้นแบบในอาสาสมัครชายไทยสุขภาพปกติจำนวน 12 คน อายุระหว่าง 18-32 ปี โดยให้อาสาสมัครรับ ประทานยาเม็ดเมทฟอร์มิน 1000 มิลลิกรัม ครั้งเดียวแบบสุ่มให้ยาข้ามกลุ่ม (complete cross over and randomized design) โดยมีระยะพัก 1 สัปดาห์ เก็บตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัครก่อนรับประทานยาและที่เวลา 0.5,1,1.5,2,2.5,3,5,8,10 และ 24 ชั่วโมงหลังรับประทานยาตามลำดับ วิเคราะห์หาปริมาณยาเมทฟอร์มินในพลาสมาด้วยวิธี HPLC ศึกษาความเข้มข้นสูงสุดของยาเมทฟอร์มินในพลาสมา (Cmax) เวลาที่ความเข้มข้นของยาในพลาสมาสูงสุด ( Tmax) จากข้อมูลความเข้มข้นของยาในเลือดที่เวลาต่าง ๆ ของอาสาสมัครแต่ละคน คำนวณพื้นที่ใต้กราฟความเข้มข้นของยาเมทฟอร์มินในพลาสมาที่เวลา 0 ถึง ∞ ชั่วโมง (AUC0.∞) โดยใช้กฎสี่เหลี่ยมคางหมู ค่าคงที่อัตราเร็วการดูดซึมยา(Ka) ค่าคงที่อัตราเร็วการกำจัดยา (Kel) ค่าปริมาตรการกระจายยา(Vd) ปริมาตรเลือดที่ขจัดยาออกใน 1 หน่วยเวลา (CL) และค่าครึ่งชีวิต (t 1/2 ) วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MK model ผลการศึกษาว่าความเข้มข้นสูงสุดของยาเมทฟอร์มิน ในพลาสมาและพื้นที่ใต้กราฟความเข้มข้นของยาในพลาสมากับเวลาของยาทั้ง 2 ตำรับ เมื่อทดสอบด้วย ANOVA แบบ two way cross over แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อทดสอบด้วยระดับความเชื่อมั่น 90 % confidence interval พบว่าอัตราส่วนของแต่ละพารามิเตอร์ (Cmax ,AUC) มีค่าอยู่ในช่วง 80-125 % เปอร์เซนต์ความแตกต่างของเวลาที่ความเข้มข้นของยาในพลาสมาสูงสุด (Tmax) ของยาทดสอบอยู่ในช่วง± 20% ของยาต้นแบบ แสดงว่ายาเมทฟอร์มินขนาด 500 มิลลิกรัมทั้ง 2 ตำรับ มีชีวสมมูลกันทั้งในเชิงอัตราเร็วและปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งน่าจะให้ประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียงกัน และเมื่อนำค่าพารามิเตอร์อื่นคือ ค่าคงที่อัตราเร็วการดูดซึมยา ค่าคงที่อัตราเร็วการกำจัดยา ค่าปริมาตรการกระจาย ปริมาตรเลือดที่ขจัดยาออกใน 1 หน่วยเวลา และค่าครึ่งชีวิต เมื่อทดสอบด้วย unpaired Student's t - test พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0 .05 )
Other Abstract: Comparative bioavailability of one local product and the original product of metformin tablets commercially available in Thailand (A and B) were evaluated in twelve Thai male healthy volunteers a g e ranging from 18 to 32 years old. Each subject received a single oral dose of metformin 1000 mg. The study was done by using complete cross over and randomized design of 1 week wash out preriod. Blood samples were drawn before drug administration (0) and at 0.5,1,1.5,2,2.5,3,5,8,10 and 24 hours after drugs administration. Drug concentration were determined by HPLC technique. Individual plasm a metformin concentration - time profile was analyzed for the relevant pharmacokinetic parameters. Area under the plasm a concentration - time curve was calculated using trapezoidal rule. Other pharmacokinetic parameters (Vd, Ka, Kel, t1/2, Cl) were determined by MK mod el. The result showed that the peak plasm a concentration (Cmax), and the area under the plasm a concentration - time curve (AUC) were not statistically different between the two products (drug A and drug B) using ANOVA for two way cross over (p>0.05). By using 90 % confidence interval, the ratio of means for Cmax, AUC of the two products was in the limit 8 0 -1 2 5 %. The percent of difference of Tmax was in the limit of bioequivalence (± 20% of the reference product) It could be concluded that the two products were bioequivalent in terms of the rate and the extent of drug absorption into systemic circulation. Other parameters (Vd, Ka, Kel, t1/2, Cl) were also not statistically different between each products using unpaired Student's t- test (p>0.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68455
ISBN: 9743347658
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_ch_front_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_ch1_p.pdf700.26 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_ch2_p.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_ch3_p.pdf878.84 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_ch4_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_ch5_p.pdf823.98 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_ch6_p.pdf652.13 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ch_back_p.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.