Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68501
Title: ปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของอัตราการหมุนเวียนของเงินในประเทศไทย
Other Titles: Factors affecting velocity of money in Thailand
Authors: อาคเนย์ จันทระ
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: ปริมาณเงิน
ความต้องการถือเงิน
วิกฤตการณ์การเงิน
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2540
Cointegration
Error-correctinng codes (Information theory)
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของ Velocity ประเภทต่าง ๆ ในช่วงก่อนและหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยที่มีบทบาทกำหนดพฤติกรรมของ Velocity ในประเทศไทยในช่วงปี 2533:1 - 2541:7 โดยวิธีการ cointegration และ Error correction model ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ OLS เมื่อข้อมูลที่นำมาศึกษามีคุณสมบัติ Nonstationary นอกจากนี้แล้วมีการเพื่อตัวแปร ปริมาณสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยในฐานะอัตราผลตอบแทนของการถือเงิน M2 M2A และ M3 อีกด้วย ผลที่ได้จากการทดสอบ Unit root พบว่า V1 V2 V2A และ V3 มีคุณสมบัติ Nonstationary ซึ่งบ่งชี้ให้ เห็นว่าในช่วงเวลาที่เกิด Shock ขึ้น ผลกระทบจาก Shock ที่มีต่อตัวแปร V1 V2 V2A และ V3 จะเกิดขึ้นอย่าง ถาวร ในส่วนผลการทดสอบ Cointegration พบว่า V1 V2 V2A และ V3 มีความสัมพันธ์อย่างมีเสถียรภาพกับ รายได้แท้จริง จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือเงินได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในกรณี V1 ส่วนต่างอัตราอัตราดอกเบี้ยในกรณี V2 อัตราผลตอบแทนจากการถือหุ้นในกรณี V2A และ V3 และอัตราผลตอบแทนจากการถือเงิน เช่น อัตราตอกเบี้ยในกรณีของ V2A และ V3 โดย V1 V2 V2A และ V3 มีความ สัมพันธ์ในเชิงผกผันกับรายได้แท้จริงและจำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ ในทางต่างกันข้าม V1 V2 V2A และ V3 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณสินเชื่อ และต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือเงิน นอกจากนี้ยังพบว่า V2A และ V3 มีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับอัตราดอกเบี้ย จากผลที่ได้จากการศึกษา เราสามารถประยุกต์กับการดำเนินนโยบายการเงินในเรื่องดังต่อไปนี้ ประการแรกในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน(Shock) ภายใต้กรอบการวิเคราะห์บนพื้นฐานของ ทฤษฎีปริมาณเงิน การเปลี่ยนแปลงของ Velocity จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ดังนั้นนโยบายการเงินที่เหมาะสมจะต้องเป็นไปในลักษณะหักล้างการเปลี่ยนแปลงใน Velocity และประการที่สอง เจ้าหน้าที่ทางการเงินจะต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่มีต่อ V2A และ V3 มีลักษณะตรงข้ามกับผลกระทบที่มีต่อ V1 จึงเป็นสาเหตุให้การเปลี่ยนแปลงของ V2AหรือV3 ที่มีต่อ GDPแตกต่างจากผลการเปลี่ยนแปลง ของV1 ที่มีต่อGDP ตังนั้นในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของรายได้ประชาชาติ เจ้าหน้าที่ ทางการเงินจะต้องพิจารณาผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินที่มีต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของVelocity ทุกประเภท ในการประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายในแต่ละครั้ง
Other Abstract: The objectives of this study are to observe the behavior of velocities before and after the economic crisis in 1997 and to study factors affecting velocity of money in Thailand during the period 1990:1-1998:7 by means of cointegration and error correction model. These methods are more efficient than OLS method when series are nonstationary. In addition, this study takes loan and an interest rate as the own rate of return on M2 M2A and M3 into account. The finding from the unit root test reveals that V1, V2, V2A and V3 are nonstationary. These results imply that the effects of shocks on changes in V1, V2, V2A and V3 are perm anent. The results from cointegration test show that V1, V2, V2A and V3 are cointegrated with real income, number of bank branches, opportunity cost variables such as an interest rate in the ca se of V1, an interest rate differential in the ca se of V2 and a rate of return on equity in the case of V2A and V3 and the own rate of return on money such a s an interest rate in the ca se of V2A and V3. V1, V2, V2A and V3 are negatively related to real income and number of bank branches while positively related to loan and an opportunity cost variables. Additionally, V2A and V3 are inversely related to the interest rate. According to the results, we can apply these results to monetary policy. First, when shock occurs, this shock will permanently affect all types of velocity to change. According to the quantity theory, a compensatory change in the money stock to offset effect of change in velocity on GDP is necessary. Second, because effect of change in the interest rate on V2A or V3 inversely differs from effect of change in the interest rate on V1 so the effect of change in each type of velocity on GDP is different. If one goal of monetary policy is to stabilize GDP, policymakers must incorporate the effect of monetary policy on behavior of all definitions of velocity into their decision.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68501
ISBN: 9743460128
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arkhane_ch_front_p.pdf951.15 kBAdobe PDFView/Open
Arkhane_ch_ch1_p.pdf797.53 kBAdobe PDFView/Open
Arkhane_ch_ch2_p.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Arkhane_ch_ch3_p.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Arkhane_ch_ch4_p.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Arkhane_ch_ch5_p.pdf834.76 kBAdobe PDFView/Open
Arkhane_ch_back_p.pdf778 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.