Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69368
Title: ผลฉับพลันของการฟังดนตรีคลาสสิกที่มีต่อความเครียดในคนวัยทำงาน
Other Titles: The acute effects of classical music listening on stress in working people
Authors: เบญจ์ ป้องกันภัย
Advisors: วรรณพร ทองตะโก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Wannaporn.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟังดนตรีคลาสสิกที่มีต่อความเครียดในคนวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นคนวัยทำงานเพศชายและเพศหญิงอายุระหว่าง 25 - 43 ปี จำนวน 32 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเครียดระดับปานกลาง จากการทดสอบโดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุงและมีทัศนคติต่อดนตรีคลาสสิกในระดับมากขึ้นไปจากแบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อดนตรีคลาสสิกของคนวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีจำนวนภายในกลุ่มเท่ากันกลุ่มละ 16 คน โดยกลุ่มควบคุม ให้นั่งในท่าเอนกายตามสบายโดยไม่หลับตา เป็นเวลา 25 นาที และกลุ่มทดลอง ให้นั่งในท่าเอนกายตามสบายโดยไม่หลับตาและได้รับฟังดนตรีคลาสสิกเป็นเวลา  25 นาที พร้อมวัดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นเวลา 30 นาที และวัดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตก่อนการทดลอง หลังการทดลอง (นาทีที่25) และหลังการทดลอง 5 นาที (นาทีที่30) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย 1. เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจภายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่าก่อนการทดลอง หลังการทดลอง (นาทีที่25) และหลังการทดลอง 5 นาที (นาทีที่30) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวระหว่างกลุ่ม พบว่าหลังการทดลอง (นาทีที่25) ของกลุ่มทดลองมีลดลงแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 3. เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าสมองอัลฟาระหว่างกลุ่ม พบว่า ในนาทีที่ 15 นาทีที่ 20 หลังการทดลอง (นาทีที่25) และหลังการทดลอง 5 นาที (นาทีที่30) ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 4. เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าสมองภายในกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการทดลอง (นาทีที่ 25) และหลังการทดลอง 5 นาที (นาทีที่30) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการฟังดนตรีคลาสสิกเป็นเวลา 25 นาที ช่วยลดระดับความเครียดในคนวัยทำงานได้ โดยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลง และเพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมองอัลฟา
Other Abstract: The purpose of the study was to examine the acute effects of listening to classical music on stress in working people. Thirty two subjects were selectively sampled to be males and females working people aged between 25 – 43 years old who scored at least high on perception test toward classical music and medium on Suanprung stress test. Subjects were divided in to control and experimental group with 16 subjects in each group. The control group sat in the chair with eyes opened in a silent room for 25 minutes, whereas the experimental group sat in the chair with eyes opened and listened to a classical music for 25 minutes. The brain wave test required 30 minutes to complete. Before after (25 minutes) and after 5 minutes (30 minutes) in the experiment, each subject was measured heart rates and blood pressures. The obtained data were analyzed by mean, standard deviation, independent t-test, one-way analysis of variance with repeated measures and Bonferroni method. The significant level was at .05 level. The results revealed that: 1. The average mean score of heart rates within control group and experimental group were found to be significantly different in before after (25minutes) and after 5 minutes (30minutes) at the significant level of .05 2. The average mean score of heart rates and systolic blood pressure were found to be significantly different between groups in after (25minutes) experiment at the significant level of .05 3. The average mean score of alpha brain wave in 15 minutes, 20minutes, after (25minutes) and after 5 minutes (30minutes) in experimental group as well as the control group were found to be statistically different at the significant level of .05. 4. The average mean score of alpha brain wave within experimental group in after (25minutes) and after 5 minutes (30minutes) in experimental group as well as before experiment at the significant level of .05 In conclusion, the present findings demonstrated that classical music listening for 25 minutes can reduce stress levels in working people by improving heart rate, blood pressure and increasing alpha brainwave.​
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69368
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1110
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178306839.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.