Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69436
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพล สงวนรังศิริกุล-
dc.contributor.authorหทัยภัทร ทิพยุทธ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T10:06:47Z-
dc.date.available2020-11-11T10:06:47Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69436-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางต่อระยะเวลาการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic drop) ในนักวิ่งมือใหม่ และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกราน (pelvic alignment)กับอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate; HR), การใช้ออกซิเจน (VO2 uptake), ค่าความรู้สึกเหนื่อย (Rating of Perceived Exertion; RPE), ค่าความรู้สึกล้าของขา (Rating of Perceived Exertion for legs; RPElegs) และความล้าของกล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้อายุระหว่าง 18 - 35 ปี เป็นนักวิ่งมือใหม่ (ประสบการณ์น้อยกว่า 1 ปี) 27 คน และนักวิ่งสันทนาการ (ประสบการณ์ 2 - 4 ปี) 27 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) และวิ่งบนลู่วิ่ง 30 นาที ที่ระดับความหนักปานกลางที่อัตราเร็วที่เลือกเอง (นักวิ่งมือใหม่; 5.87 ± 0.62 กม./ชม. vs. นักวิ่งสันทนาการเพศหญิง; 6.44 ± 0.58 กม./ชม.) โดยอยู่ในช่วงอัตราการเต้นหัวใจที่ 40 - 59% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุด (heart rate reserve; HRR) ขณะทดสอบบนลู่วิ่ง 30 นาที นักวิ่งทั้งสองกลุ่มจะถูกบันทึกค่าอัตราการเต้นของหัวใจ, การใช้ออกซิเจน, ค่าความรู้สึกเหนื่อย, ค่าความรู้สึกล้าของขา และวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ (muscle activity) จากสัญญาณไฟฟ้า (electromyography; EMG) ที่กล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus ทุก ๆ  2 นาที พร้อมกับการบันทึกองศาของกระดูกเชิงกราน ทุก 1 นาที ข้อมูลทั้งหมดถูกวิเคราะห์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักวิ่งมือใหม่ และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยของเวลาในการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลาง 8.15 ± 5.07 และ18.37 ± 6.70 นาที ตามลำดับ (p < .01) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกรานกับค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (r=.56), การใช้ออกซิเจน (r=.47), ค่าความรู้สึกเหนื่อย (r=.47) และค่าความรู้สึกล้าของขา (r=.48) ในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่ (p < .01) และพบความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกรานกับค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (r=.44), การใช้ออกซิเจน (r=.41), ค่าความรู้สึกเหนื่อย (r=.39) และค่าความรู้สึกล้าของขา (r=.32) ในกลุ่มนักวิ่งสันทนาการ (p < .01) ข้อมูลไม่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวการเอียงของกระดูกเชิงกรานที่เพิ่มขึ้นกับความล้าของกล้ามเนื้อ Gluteus medius และ Gluteus maximus ในทั้งสองกลุ่ม เมื่อสิ้นสุดการทดสอบการวิ่งบนลู่วิ่ง 30 นาทีกล้ามเนื้อ Gluteus medius 4 คน (15%) และGluteus maximus 7 คน (26%)ในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่ และเกิดความล้าของกล้ามเนื้อ Gluteus medius 8 คน (30%) และGluteus maximus 8 คน (30%) ในนักวิ่งสันทนาการ จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มนักวิ่งมือใหม่เกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานในเวลาที่เร็วกว่านักวิ่งสันทนาการเพศหญิง และชี้ให้เห็นว่าสามารถนำตัวแปรต่าง ๆ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ, ค่าความรู้สึกเหนื่อย, ค่าความรู้สึกล้าของขามาประเมินตนเองขณะวิ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการวิ่งโดยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกราน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the effect of moderate-intensity running on time to start pelvic drop in female novice and recreational runners. This study also investigated the relationship between the pelvic alignment with many variables, including heart rate (HR), oxygen uptake (VO2 uptake), Rating of Perceived Exertion (RPE), Rating of Perceived Exertion for legs (RPElegs), Gluteus medius, and Gluteus maximus fatigue. The participants aged between 18 and 35 years old were 27 novice runners (less than 1 year of running experience) and 27 recreational runners (2-4 years running experience). The participants in both groups performed the VO2max test and ran at a self-selected speed (novice runners; 5.87 ± 0.62 km/h vs. recreational runners; 6.44 ± 0.58 km/h) on a treadmill for 30 minutes at moderate-intensity within the specified heart rate range of 40 - 59% heart rate reserve (HRR). HR, VO2 uptake, RPE, RPElegs, muscle activity(electromyography; EMG) of Gluteus medius and Gluteus maximus were collected every 2 minutes and the pelvic kinematic data were also recorded every minute during the 30-minute treadmill running test. The data were analyzed with a statistical significance level at p-value < .05. The results demonstrated that the time in starting pelvic drop was 8.15 ± 5.07 and 18.37 ± 6.70 minutes in female novice and recreational runner groups, respectively (p < .01). In the novice runner group, Pearson's Correlations showed the relationship between the pelvic alignment and HR (r=.56), VO2 uptake (r=.47), RPE (r=.47) and RPElegs (r=.48), (p < .01). In the recreational runner group, Pearson's Correlations also showed the relationship between the pelvic alignment and HR (r=.44), VO2 uptake (r=.41), RPE (r=.39) and RPElegs (r=.32), (p < .01). The results found no relationship between the pelvic alignment and Gluteus medius and Gluteus maximus muscle fatigue in both groups. At the end of the 30-minute treadmill running test, Gluteus medius and Gluteus maximus muscle fatigue were detected in 4 (15%) and 7 (26%) novice runners. Gluteus medius and Gluteus maximus muscle fatigue were detected in 8 (30%) and 8 (30%) recreational runners. According to the study, the occurrence of a pelvic drop in female novice runners was faster than female recreational runners. The study indicated that variables such as HR, RPE, and RPElegs could be used to monitor themselves as a running guideline to reduce the risk of the occurrence of pelvic drop.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.640-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleการเปรียบเทียบการเกิดภาวะเอียงของกระดูกเชิงกรานขณะวิ่งที่ระดับความหนักปานกลางในกลุ่มนักวิ่งมือใหม่และนักวิ่งสันทนาการเพศหญิง-
dc.title.alternativeComparing the occurrence of pelvic drop during moderate-intensity running in female novice and recreational runners-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordวิ่งที่ระดับความหนักปานกลาง-
dc.subject.keywordกล้ามเนื้อกลูเตียสมีเดียส-
dc.subject.keywordกล้ามเนื้อกลูเตียสแมกซิมัส-
dc.subject.keywordภาวะเอียงของกระดูกเชิงกราน-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.640-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974107030.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.