Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69823
Title: กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เครื่องหอมไทยสู่แบรนด์เครื่องหอมโลก
Other Titles: Brand building strategy for Thai fragrances to global brand
Authors: วสี อัชกุลพร
Advisors: วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสร้างแบรนด์เครื่องหอมไทย (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์เครื่องหอมไทย (3) เพื่อศึกษาปัจจัยขับเคลื่อนแบรนด์เครื่องหอมไทย แบรนด์ PAÑPURI และแบรนด์ HARNN โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) แบรนด์ทั้งสองมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ตามแนวคิดไลฟ์สไตล์แบรนด์ ประกอบด้วยความเป็นมาของแบรนด์ จากการใส่เรื่องราว ความเชื่อของแบรนด์ และอุดมการณ์ของแบรนด์ โดยการนำเสนอไลฟ์สไตล์ รหัสไลฟ์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์ สำหรับแบรนด์ PAÑPURI ได้กำหนดแนวคิดของแบรนด์ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์สุดหรู ชูจุดเด่นเรื่องออแกนิก ส่วนแบรนด์ HARNN กำหนดแนวคิดของแบรนด์ คือ ความร่วมสมัย หรูหรา และเอกลักษณ์ของเอเชีย (2) การสื่อสารแบรนด์เครื่องหอมไทย แบรนด์ทั้งสองมีการสื่อสารแบรนด์ตามแนวคิดไลฟ์สไตล์แบรนด์ มีแนวคิดการเล่าเรื่องราวผ่านผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดที่มีไลฟ์สไตล์ที่คนในสังคมปรารถนา ผ่านการสื่อสาร 3 ลักษณะ คือ ผ่านกิจกรรมการสื่อสารที่มีการเล่าเรื่องราวเดียวกันทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดสุนทรียศาสตร์ ที่มีความหมายทางอารมณ์และสอดคล้องกับผู้บริโภค และผ่านการสื่อสารในร้านค้า มีพนักงานทำหน้าที่ให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์และเผยแพร่เรื่องราวดึงดูดความสนใจผู้บริโภค (3) ปัจจัยขับเคลื่อนแบรนด์เครื่องหอมไทย แบรนด์ทั้งสองขับเคลื่อนแบรนด์ตามแนวคิดไลฟ์สไตล์แบรนด์ มีผู้นำแบรนด์ที่เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ให้แก่แบรนด์และองค์กร กล่าวคือ ผู้นำจะออกแบบเรื่องราว สิ่งที่แบรนด์เชื่อ อัตลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงการนำเสนอไลฟ์สไตล์ ผ่านแนวคิดของแบรนด์ นอกจากนี้ ผู้นำยังเป็นผู้กำหนดปรัชญาการทำงานในองค์กร โดยผู้นำมองว่า พนักงานเป็นกลไกที่สำคัญของบริษัท มีการคำนึงถึงความสุขของพนักงาน ด้านพนักงาน มีแนวทางการทำงานที่สะท้อนวิสัยทัศน์ผู้นำ โดยสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์และบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสุขภาพความงาม
Other Abstract: The purpose of this study is to 1) study the branding strategy of Thai fragrances 2) study the brand communication strategy of Thai fragrances. 3) study the factors that drive Thai fragrances PAÑPURI and HARNN. This study uses qualitative research methodology by in- depth interview 20 related people. The result from the research study shows that 1) both brands have their branding strategies based on the lifestyle brand model; both brands narrate stories through the brand storytelling concepts which are credo, stories and lifestyle proposition, lifestyle codes. 2) brand communication through cross media storytelling concept through communications through products and through in-store communication. 3) the human factors are visionary leaders and organizational mechanisms, both brands have visionary leaders as their brand philosopher whom create brand philosophy and vision the difference organizational mechanisms build a customer experience, keep narrate both brands inside and outside the organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69823
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.927
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.927
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984670528.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.