Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70265
Title: การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารระบบราง กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้
Other Titles: Travel mode shift of rail transit passengers: a case study of BTS green line southern extension
Authors: ธนพร กรีวงษ์
Advisors: เกษม ชูจารุกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kasem.Choo@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรูปแบบอื่นไปสู่ระบบราง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปและปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย งานวิจัยนี้จึงเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้ ตั้งแต่สถานีปู่เจ้าฯจนถึงสถานีเคหะฯ ที่เดินทางเป็นประจำ มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางจากที่ทำงานหรือจากสถานศึกษากลับสู่ที่พัก ไม่มีการเปลี่ยนที่พัก ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาหลังจากที่ส่วนต่อขยายเปิด ใช้แบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางทั้งก่อนและหลังการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และศึกษาแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย โดยใช้คำถามสถานการณ์สมมุติซึ่งมี 3 ตัวแปร คือ เวลาการปล่อยขบวนรถ การเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง และค่าโดยสาร ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลตัวอย่างผู้โดยสารพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเดินทางในอดีตโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีทั้งกลุ่มที่เดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง และกลุ่มที่เดินทางโดยไม่ใช้รถไฟฟ้า และพบว่า การเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสำโรง เวลาการปล่อยขบวนรถและค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายลดลง รวมทั้งปัจจัยอื่นที่นอกจากการให้บริการของรถไฟฟ้าก็มีผลต่อแนวโน้มการใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเช่นกัน
Other Abstract: The opening of the BTS Skytrain extension caused the passenger to change the mode of transportation from other modes to the rail system. The purposes of this research were to study the travel behavior change and the factors affecting the trend of using the BTS Skytrain extension. A sample was selected from passengers of BTS Green Line Southern Extension from Puchao Station to Kheha Station who travel regularly. The purpose of the trip was home-based work or home-based education. And do not change residence, workplace or school after the extension was opened. Data were collected via the questionnaires. The first part was the questions about travel behavior both before and after the opening of the extension. And the second part was the questions about factors affecting the trend of using BTS Skytrain extension, a scenario which had three components: the headway, changing train at Samrong Station and fares. The study suggested that most of the samples traveled by public transport in the part. It can be divided into two groups: group traveling by BTS Skytrain as part of the trip and group traveling without BTS Skytrain. The result from scenario design showed that the increase of headway and fares, changing train at Samrong Station reduced the trend of using BTS Skytrain extension. Also, there were factors other than the service affecting the trend of using the BTS Skytrain extension as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70265
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1211
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1211
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070386421.pdf7.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.