Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70455
Title: สมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในยุค Digital HR ของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง
Other Titles: Competency and human resource development in the digital HR era of a state enterprise employee
Authors: พัณณิน อินทรภักดี
Advisors: ปกรณ์ ศิริประกอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Prakorn.S@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารงานบุคคล
การพัฒนาบุคลากร
Personnel management
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “สมรรถนะและการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในยุค Digital HR ของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง” เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามในการศึกษาระดับสมรรถนะด้านดิจิทัลในปัจจุบัน และระดับสมรรถนะที่คาดหวังในการทำงานยุค Digital HR และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญสายงานทรัพยากรบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน ศึกษาช่องว่างของสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันกับระดับของสมรรถนะที่คาดหวังเพื่อรองรับการทำงานในยุค Digital HR และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการทำงานในยุค Digital HR ผลการศึกษาพบว่า ระดับสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง และระดับสมรรถนะที่คาดหวังด้านดิจิทัลอยู่ในระดับสูง ดังนั้นจากความแตกต่างของสมรรถนะในแต่ละด้าน จึงต้องมีการนำวิธีที่เหมาะสมมาปรับใช้เพื่อพัฒนาบุคลากร โดยมีสมรรถนะด้านดิจิทัลที่เหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาบุคลากรสายงานทรัพยากรบุคคลด้านความรู้ คือ เทคนิคการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ สมรรถนะด้านทักษะ คือ การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงาน และสมรรถนะด้านคุณลักษณะ คือ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: “A Study of Competency and Human Resource Development in Digital HR Era of a State Enterprise Employee’’ is mixed method research consisting of quantitative research and qualitative research. The former uses a questionnaire about current competency and required competency for HR in digital age. The latter applies a semi-structured interview to examining practical methods for human resource development by people in the area of expertise. The objective of this research is to consider personnel’s digital competence at present, contrast it with desired digital competence for human resource development as well as suggest development methods for human resource development in digital HR era. This research demonstrates that current personnel’s competence is in intermediate level, however the personnel’s required competence is in high level. Competency gap, therefore, is composed of knowledge, skill and attribute. In order to improve personnel’s digital performance, the organization has to provide appropriate methods, namely 1) Knowledge: applying digital technology to job responsibilities 2) Skill: applying digital equipment to work for skill competency and 3) Attribute: continuously developing yourself.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70455
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.252
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.252
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180986724.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.