Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71665
Title: The Effect of the insurance business on the balance of payments
Other Titles: ผลกระทบของธุรกิจประกันภัยที่มีต่อดุลการชำระเงิน
Authors: Roongnaree Chalermvana
Advisors: Sothitorn Mallikamas
Titanan Mallikamas
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 1996
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This thesis study attempts to analyze the effect of the insurance business on the Balance of Payments by using the fifth edition (1993) of the Balance of Payments Manual (BPM5) which suggested by IMF during the period of 1990-1994. The Department of Insurance Records were used for treatment insurance transactions in the Balance of Payments. From the study, we found that the non-life insurance transactions which related to the international trade in insurance services is reinsurance. Transactions in life insurance which related to the international transactions is profit remittance of each companies. The results of the treatment of insurance services in the balance of payments from 1990-1994 have shown the deficit. The deficit in insurance services amounted to Baht 2,442 million in 1990 and increased to Baht 7,252 million in 1994. The annual growth rate of insurance deficit is about 29 per cent between 1990-1994. Considering non-life insurance business, the deficit amounted to Baht 4,012 million in 1994. This is the result of the high in outward reinsurance especially in fire reinsurance and miscellaneous reinsurance. For life insurance business, the deficit which related to profit remittance of life insurance companies amounted to Baht 3,240 million. The high profit paid back to A.I.A.’s parent company is the major factor in insurance balance of payments deficit. Comparing the result of this research study to Bank of Thailand, we found that there is a Significant difference in insurance balance of payments deficit. The higher deficit is shown form the recording of insurance balance of payments of this study. This is the result of the difference in definition and data coverage. Moreover, insurance companies in Thailand need to increase the equity and inward reinsurance in order to reduce the deficit in insurance business in Thailand.
Other Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบของธุรกิจประกันภัยที่มีต่อดุลการชำระเงินในประเทศไทย โดยการนำข้อมูลสถิติทางด้านการประกันภัยของกรมการประกันภัยมาลงบัญชีดุลการชำระเงิน การลงบัญชีนี้ปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือการลงบัญชีดุลการชำระเงิน ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์เป็นครั้งที่ห้า โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลกระทบระหว่างปี 2533-2537 ผลจากการวิจัยพบว่า ธุรกรรมที่สำคัญในธุรกิจประกันวินาศภัยที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศนละมีผลต่อ ดุลการข้าระเงินคือ การประกันภัยต่อ สำหรับการประกันชีวิตคือ การส่งกำไรกลับต่างประเทศ ผลจากการลงบัญชีดุลการ ชำระเงินพบว่า ธุรกิจประกันภัยขาดดุลการชำระเงินมาโดยตลอด และมีแนวโน้มที่จะขาดดุลเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยในปี พ.ศ.2537 ธุรกิจประกันภัยขาดดุลถึง 7,252 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2533 ที่ขาดดุล 2,443 ล้านบาท มีอัตราเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลในแต่ละปีประมาณร้อยละ 29 เมื่อพิจารณาธุรกิจประกันวินาศภัยจะพบว่า ปีพ.ศ.2537 มี การขาดดุล 4,012 ล้านบาท เมื่อพิจารณาตามประเภทของการประกันภัยพบว่า ธุรกิจการประกันภัยเบ็ดเตล็ดขาดดุลมากที่สุด โดยขาดดุลถึง 1,361 ล้านบาท รองลงมาเป็นธุรกิจประกันอัคคีภัย ขาดดุล 843 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็นเพราะธุรกิจ ประกันวินาศภัยมีการเอาประกันภัยต่อกับต่างประเทศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะธุรกิจประกันอัคคีภัยและธุรกิจประกันภัยเบ็ดเตล็ด จึงทำให้มีเงินไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัยมีการรับประกันภัยต่อจากต่างประเทศค่อนข้างน้อย สำหรับธุรกิจประกันชีวิตนั้น การขาดดุลมาจากการโอนเงินกำไรไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะของบริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก โดยในปีพ.ศ. 2537 ธุรกิจประกัน ชีวิตมีการขาดดุล 3,240 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบผลการวิจัยนี้กับผลการบันทึกการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทางด้านประกันภัยของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่ามีผลที่ต่างกันมาก โดยตัวเลขการขาดดุลของธุรกิจประกันภัยที่ได้จากการวิจัยนี้มีค่ามากกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบันทึกได้ ทั้งนี้เป็นเพราะข้อมูลของทั้งสองแห่ง มีความครอบคลุมและคำจำกัดความที่ต่างกัน สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดดุลของธุรกิจประกันภัยนั้นอาจทำได้ โดยการให้บริษัทภายในประเทศรับประกันภัยต่อมากขึ้น โดยเฉพาะจากต่างประเทศ และควรลดเอาประกันภัยต่อกับต่างประเทศ หรืออาจทำได้โดยเพิ่มเงินกองทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับประกันภัยของบริษัทภายในประเทศ และเพื่อทำให้แต่ละบริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1996
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: International Economics and Finance
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71665
ISBN: 9746368818
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roongnaree_ch_front_p.pdf961.16 kBAdobe PDFView/Open
Roongnaree_ch_ch1_p.pdf818.85 kBAdobe PDFView/Open
Roongnaree_ch_ch2_p.pdf963.44 kBAdobe PDFView/Open
Roongnaree_ch_ch3_p.pdf860.61 kBAdobe PDFView/Open
Roongnaree_ch_ch4_p.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Roongnaree_ch_ch5_p.pdf674.8 kBAdobe PDFView/Open
Roongnaree_ch_back_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.