Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71684
Title: แนวทางด้านผังเมืองเพื่อการป้องกันอาชญากรรม ในเขตชุมชนชานเมืองของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตรับผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลหนองแขม
Other Titles: Urban planning guidelines for crime prevention in outer suburbs of Bangkok Metropolis : a case study of Nong Khaem Police Station
Authors: วิชา จำปาวัลย์
Advisors: ขวัญสรวง อติโพธิ
ญาณพล ยั่งยืน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถานีตำรวจนครบาลหนองแขม
สิ่งแวดล้อม
นิเวศวิทยา
อาชญากรรม
หนองแขม (กรุงเทพฯ)
Nong Khaem Police Station
Environment
Ecology
Crime
Nong Khaem (Bangkok)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนชานเมืองกรุงเทพมหานครที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขด้วยมาตรการต่าง ๆ เพื่อเกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การศึกษาได้เลือกพื้นที่ศึกษาในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลหนองแขมเพื่อเป็นตัวแทนของชุมชนชานเมือง วิธีศึกษาจากข้อมูลพื้นที่ศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศ การเดินสำรวจและการเก็บสถิติคดี 6 ปี (พ.ศ. 2533-2538) แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 เขตย่อยศึกษาในสองระดับคือสภาพแวดล้อมทั่วไป ได้แก่การใช้ประโยชน์ที่ดินและสภาพแวดล้อมเฉพาะ ได้แก่ สภาพกายภาพในชุมชน แสงสว่าง การเข้าถึงพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ศึกษามีบริเวณที่สภาพแวดล้อมส่งเสริมให้เกิดคดีอาชญากรรม 10 แห่ง โดยอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจะกระจุกตัวอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มีสภาพแวดล้อมเฉพาะอย่าง ในระดับสภาพแวดล้อมทั่วไปพบว่า บริเวณที่มีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น มีประชากรอาศัยอยู่หนา แน่น จะมีสถิติคดีที่เกิดขึ้นสูง และความสัมพันธ์ของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับการใช้ที่ดิน จะมีความสัมพันธ์ในการเกิดคดีมากน้อยแตกต่างกัน ย่านการค้าจะมีโอกาศเกิดคดีได้มากกว่าย่านที่พักอาศัยย่านที่ว่างและย่านเกษตรกรรมตามลำดับ สำหรับในสภาพแวดล้อมเฉพาะที่พบว่า ปัจจัยด้านแสงสว่าง การออกแบบผังชุมชน การเข้าถึง และประสิทธิภาพในการควบคุมพื้นที่ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะเพิ่ม หรือลดช่องโอกาสของอาชญากรที่จะประกอบอาชญากรรม และพฤติกรรมความมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่จะแสดงออกด้วยการควบคุมดูแลพื้นที่ มาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงมาตรการด้านอื่นๆ ล้วนเป็นปัจจัยแฝงที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าจะควบคุมอาชญกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนได้หรือไม่ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา เพื่อวางแผนป้องกันอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดลักษณะทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชญากรรมมากที่สุด ได้แก่ การเพิ่มแสงสว่างเข้าในพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงพื้นที่การสร้างระเบียบภายในพื้นที่รวมถึง การเสริมสร้างทัศนคติ ความรู้สึกของคนในชุมชน ในการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบชุมชน เพื่อส่งผลต่อการควบคุมอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในชุมชน
Other Abstract: The objective ๙ this research is to identify the crimes pproblem that is happening in the outskirts of Bangkok, which are related to physical environment, in order to come up with the ways to effectively prevent and eliminate crimes. The area under the control of Nong-khaem Police station was selected as the case study for the suburban community. From the information gathered from the aerial photographs, surveys, and the analysis of the crime case registrations of ธ years (from 1990 to 1995 ), the area case was divided into 4 zones. Once more, it was divided environmentally into 2 levels, which were the study of the general environment so-called landuse and the immediate environment including accessibility, construction, lighting, etc. The result shows that in the study area, there are areas contributing to crimes as many as 10 areas. As the occurrence of the crimes are concentrated mostly at the high density areas. Landuses can effect the case differently as in the shopping area, there is more chances of crimes more than residential areas, non-constructed areas, or agricultural areas respectively. Moreover, lighting, design of the city, accessibility and the safety control in the area is also the factors that will increase or decrease the chances to the criminals to create crimes. The cooperation in safety control policy of the people in the area is also an indirect factor that could likely tell if the crimes are under control or not. The advises from this study case are to prevent the crimes that could happen by improving the physical environment to obstacle the crimes from happening as much as possible by setting up more lights, improve the accessibility and bringing in orders including changing the attitudes and feeling of the residence in the sense of responsibility in community. All these would help controlling the crimes that happens in the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71684
ISSN: 9746380664
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vicha_ja_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.34 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_ch1.pdfบทที่ 1200.12 kBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_ch2.pdfบทที่ 21.25 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_ch3.pdfบทที่ 34.92 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_ch4.pdfบทที่ 42.95 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_ch5.pdfบทที่ 55.26 MBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_ch6.pdfบทที่ 6166.25 kBAdobe PDFView/Open
Vicha_ja_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก129.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.