Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71760
Title: La Penimisme dans l'oeuvre poetique d'Alfred de Vigny
Other Titles: ทุรทรรศนนิยมในกวีนิพนธ์ของอัลเฟรด เดอ วินญี
Authors: Sasivimol Surarit
Advisors: Munier, Christophe
Other author: Chulalongkorn University. Graduate of School
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Vigny, Alfred de, 1797-1863. -- Criticism and interpretation
Pessimism in literature
วินญี, อัลเฟรด เดอ -- กวีนิพนธ์
การมองโลกในแง่ร้าย
ทุรทรรศนนิยมในวรรณคดี
กวีนิพนธ์ฝรั่งเศส
Issue Date: 1987
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Par leur emotion sensible, nombre d’ecrivains du XIX. Siècle, blesses par les bouleversements de la societe et de la politique apres la Revolution franqaise, preferent creer un univers imaginaire en se revoltant contre les regles strictes du classicism. Envahis par le gout de la melancolie et de l’inquietude qui prend le nom de “Mal du Siecle”, ces romantiques ont, en general, une vision pessimiste du monde et de l’humanite. Considere comme un des grands romantiques, Alfred de Vigny, dequ dans sa vie privee et sociale, developpe parfaitement cette onception pessimiste dans son oeuvre poetique. Cette etude insiste sur l’elaboration et le developpement du pessimism dans l’ame poetique de ce poete. Certes, sa vision negative vient de ses experiences intimes melant aux idees pessimists qui definissent l’atmosphere de son epoque. Sa vie traversant maintes difficulties, ne trouvant le repos que peu avant sa mort, nous ne pouvons douter de la sincerite de Vigny. Refusant l’effusion de sentiment, Vigny ne cesse de mediter sur la misere de l’Homme; l’amour trahi, l’injustice sociale, la mechancete, l’indifference generale au genie du poete, une foie n Dieu, qui s’eteint…tells sont les points de notre etude. Mais si Vigny s’interesse a l’avenir de l’Homme, il cherche la sagesse de vivre dans ce monde. Il sort enfin du pessimism. Sa vision s’eclaire. La recherché sur le pessimism dans l’oeuvre poetique d’Alfred de Vigny nous aidera donc a mieux comprendre la creation interieure de son oeuvre qui repose sur lui. Dans le cas de cet auteur, nous ne pouvons pas retirer sa de ses oeuvres. Bien qu’il n’ait pas requ la gloire esperee de son vivant, son genie de la connaisance de la verite humaine est indeniable. La comprehension de sa vision pessimiste nous amene a atteindre l’ame sensible de ce poete romantique, ce qui nous aide a comprendre profondement l’une des carateristiques principals du romantisme franqais, une partie tres importante de la literature franqaise.
Other Abstract: เนื่องด้วยอารมณ์สะเทือนใจอันอ่อนไหว นักประพันธ์ในศตวรรษที่ 19 เป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกข์ทรมานใจจากความผันผวนทางสังคมและทางการเมืองภายหลังจากปฏิวัติฝรั่งเศส ต่างพึงพอใจที่จะสร้างสรรค์โลกแห่งจินตนาการด้วยการปฏิวัติล้มล้างกฎระเบียบอันเคร่งครัดของวรรณคดีคลาสสิค ด้วยความรู้สึกผิดหวังเศร้าสร้อยและวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ในยุคสมัยของตนที่เรียกกันว่า “โรคร้ายแห่งศตวรรษ” จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่เหล่านักเขียนจินตนิยมจะสร้างสมแนวคิดแบบทุรทรรศนนิยมต่อโลกและมนุษยชาติขึ้นในจิตใจ ในฐานะกวีผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของวรรณคดีแบบจินตนิยม อัลเฟรด เดอ วินญี ผู้ซึ่งประสบแต่ความผิดหวังล้มเหลวในชีวิตได้พัฒนาแนวคิดแบบทุรทรรศนิยมนี้ยอ่างสมบูรณ์ในงานกวีนิพนธ์ การศึกษานี้มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนาการทางความคิดแบบทุรทรรศนนิยมในจิตวิญญาณแห่งการประพันธ์บทกวีของกวีผู้นี้ โดยแท้จริงแล้วทัศนคติในแง่ลบนี้สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ส่วนตัวต่างๆ ของกวีผสมผเสกับความคิดแนวทุรทรรศนนิยมอื่น ๆ ที่ครอบงำบรรยากาศในยุคของเขา จากชีวิตที่ผ่านอุปสรรคอย่างโชกโชนและสามารถบรรลุถึงความสงบเพียงเล็กน้อยก่อนมรณกรรมเราไม่อาจสงสัยอีกต่อไปในความจริงใจของวินญี ในการปฏิเสธที่จะแสดงออกอย่างเปิดเผยซึ่งอารมณ์ความรู้สึก วินญีไม่เคยหยุดยั้งที่จะพินิจพิจารณาเกี่ยวกับสภาพความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ อันได้แก่ ความรักที่ถูกทรยศ ความอยุติธรรมในสังคม ความโหดร้ายทารุณ ความเมินเฉยต่ออัจฉริยภาพของกวี แม้ความเชื่อในพระเจ้าก็ดับสูญไป เหล่านี้คือประเด็นสำคัญของการศึกษา หากแม้วินญีห่วงใยในอนาคตของมวลมนุษย์ก็เพื่อค้นหาแนวทางปรัชญาในการดำเนินชีวิตในโลกนี้ ในที่สุดเขาก็ได้หลุดพ้นจากแนวคิดแบบทุรทรรศนนิยมและบังเกิดความสว่างไสวแห่งปัญญา การศึกษาทุรทรรศนนิยมในกวีนิพนธ์ของ อัลเฟรด เดอ วินญี นี้ก่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นในพื้นฐานการสร้างสรรค์ผลงานซึ่งแท้จริงแล้วล้วนสืบเนื่องมาจากชีวิตของเขาเอง ในกรณีของนักประพันธ์ผู้นี้ เราไม่อาจบรรลุถึงเกียรติยศดังหวังในขณะที่ยังคงมีชีวิตอยู่ อัจฉริยภาพในการเข้าใจถึงความจริงกห่งชีวิตมนุษย์ของเขาก็มิอาจปฏิเสธได้ การเข้าใจถึงแนวคิดแบบทุรทรรศนนิยมของวินญีจะช่วยให้เข้าใจถึงจิตวิญญาณอันอ่อนไหวของกวีจินตนิยมผู้นี้ และจากจุดนี้เองที่จะช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในลักษณะหนึ่งของวรรณคดีจินตนิยมของฝรั่งเศส ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาคสำคัญภาคหนึ่งในการศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศส
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1987
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: French
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71760
ISBN: 9745678015
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasivimol_Su_front_p.pdf280.94 kBAdobe PDFView/Open
Sasivimol_Su_ch1_p.pdf774.79 kBAdobe PDFView/Open
Sasivimol_Su_ch2_p.pdf985.72 kBAdobe PDFView/Open
Sasivimol_Su_ch3_p.pdf547.08 kBAdobe PDFView/Open
Sasivimol_Su_back_p.pdf242.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.