Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71953
Title: การขยายส่วนการผลิตจิบเบอเรลลินโดย Gibberella fujikuroi N9-34
Other Titles: Scale-up of gibberellin production by Gibberella fujikuroi N9-34
Authors: สันติ เหมศรี
Advisors: สุรพงศ์ นวังคสัตถุศาสน์
นลิน นิลอุบล
ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: จิบเบอเรลลิน -- การผลิต
กรดจิบเบอเรลลิก
Gibberellins -- Manufacture
Gibberellic acid
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาเกณฑ์และปัจจัยที่สำคัญ เมื่อมีการขยายส่วนในการผลิตกรดจิบเบอเรลลิก (GA₃) จากเชื้อ Gibberella fujikuroi N9-34 โดยอาศัยข้อมูลเบื้องต้นจากการผลิตในถังหมัก 5 ลิตร ทำการขยายส่วนการผลิตจากถังหมัก 5 ลิตรเป็น 30 และ 300 ลิตร ตามลำดับ ซึ่งการขยายส่วนจะทำการผลิตแบบแบทซ์กำหนดให้รูปร่างและสัดส่วนทางเรขาคณิตของเครื่องหมักแบบถังกวนขนาด 30 และ 300 ลิตร มีลักษณะเหมือนกัน และกำหนดให้ ค่าเรโนลนัมเบอร์ หรือความเร็วรอบของปลายใบพัดหรืออัตราส่วนระหว่างกำลังของมอเตอร์ต่อปริมาตรน้ำหมักหรือสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจน มีค่าคงที่เป็นเกณฑ์การขยายส่วน สำหรับค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจน (KLa) หาด้วยวิธี Dynamic measurement ในการผลิตทำการติดตามปริมาณเซลล์แห้ง ปริมาณน้ำตาลซูโครส ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ปริมาณกลูโคส ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมัก และปริมาณ GA₃ ด้วยวิธี HPLC และคำนวณค่าทางจลนพลศาสตร์ของการผลิต เมื่อทำการผลิตโดยกำหนดเกณฑ์การขยายส่วนให้มีค่าคงที่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ในถังหมัก 30 ลิตร แต่สามารถกำหนดให้ค่าความเร็วรอบของปลายใบพัดเป็นเกณฑ์การขยายส่วน ซึ่งจะใช้อัตราการกวนเริ่มต้น 400 รอบต่อนาที ร่วมกับการควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมักเป็น 10% ของปริมาณออกซิเจนที่ละลายได้อิ่มตัวตลอดการทดลอง หลังจากทำการเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่ 25 องศาเซลเซียส อัตราการให้อากาศ 1.5 VVM สามารถผลิต GA₃ ปริมาณ 1118.80 มิลลิกรัมต่อลิตรในชั่วโมงที่ 156 ส่วนการขยายส่วนในถังหมัก 300 ลิตร สามารถกำหนดให้ค่าความเร็วรอบของปลายใบพัดเป็นเกณฑ์การขยายส่วน โดยใช้อัตราการกวนเริ่มต้น 250 รอบต่อนาที ร่วมกับการควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมักให้คงที่ หลังจากปริมาณออกซิเจนลดลงเป็น 20% ของปริมาณออกซิเจนที่ละลายได้อิ่มตัว เมื่อทำการเลี้ยงเชื้อที่ 25 องศาเซลเซียส อัตราการให้อากาศ 1.5 VVM สามารถผลิต GA₃ ปริมาณ 1299.19 มิลลิกรัมต่อลิตรในชั่วโมงที่ 168 การขยายส่วนการผลิตกรดจิบเบอเรลลิก โดยเชื้อ Gibberella fujikuroi N9-34 พึงกำหนดให้ค่าความเร็วรอบของปลายใบพัดคงที่ เป็นเกณฑ์การขยายส่วนร่วมกับการควบคุมปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหมักได้อิ่มตัว
Other Abstract: This research investigates the criteria and the important factors for scaling up the production of Gibberella acid (GA₃) by Gibberella fujikuroi N9-34 using preliminary data from the process in 5 1-fermenter. Scale-up was made from 5 1-fermenter to 30 1 and 300 1-fermenters, respectively. The production was batch culture, maintaining geometric similarity between 30 1 and 300 1-fermenters under either constant Reynolds number or impeller tip speed or ratio of agitaing power per unit volume or volumetric oxygen transfer coefficient determined by dynamic measurement. Cell dry weight, sucrose, reducing sugar, glucose, total nitrogen, dissolved oxygen, GA₃ determined by HPLC, and calculated parameters of fermentation kinetics were determined through the course of the production. Scale-up of the production at single constant criterion in 30 1-fermenter was not successful. But constant impeller tip speed at initial agitation speed of 400 rpm and subsequently maintaining controlled dissolved oxygen at 10% of saturated dissolved oxygen content after 24 hrs, temperature 25 ℃, aeration rate at 1.5 vvm was successfully carried out. The maximum attainable GA₃ concentration was 1118.80 mg/l at 156 hrs. Scale-up of production in 300 1-fermenter was successful by maintaining initial impeller tip speed of agitation at 250 rpm and controlled subsequent dissolved oxygen at 20% of saturated dissolved oxygen content, temperature at 25 ℃, aeration rate at 1.5 vvm, The maximum attainable GA₃ concentration was 1299.19 mg/l at 168 hrs. Scale-up of GA₃ production by Gibberella fujikuroi N9-34 should use both constant impeller tip speed and controlled dissolved oxygen as criteria.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71953
ISBN: 9746342738
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_he_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ24.8 MBAdobe PDFView/Open
Santi_he_ch1_p.pdfบทที่ 122.58 MBAdobe PDFView/Open
Santi_he_ch2_p.pdfบทที่ 213.52 MBAdobe PDFView/Open
Santi_he_ch3_p.pdfบทที่ 387.2 MBAdobe PDFView/Open
Santi_he_ch4_p.pdfอ 45.39 MBAdobe PDFView/Open
Santi_he_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก20.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.