Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนฤมล กิจไพศาลรัตนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-12T07:21:00Z-
dc.date.available2006-07-12T07:21:00Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/719-
dc.description.abstractวิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ เป็นวิชาบังคับพื้นฐานสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตสามารถคิดเป็น ในแง่รู้จักโต้ตอบกับปัญหา และแสวงหาลู่ทางของการให้คำตอบ เขียนรายงานที่มีการนำเสนอความคิด และภารค้นพบของตนเองได้อย่างมีหลักเกณฑ์ ทั้งในเรื่องท่วงทำนองของการนำเสนอ ภาษาที่ใช้ การให้เหตุผลที่มีความคงเส้นคงวา และในเรื่องการคำนึงถึงความเป็นระบบซึ่งมีความต่อเนื่องของการนำเสนอด้วยรูปแบบที่เหมาะสม อ้างอิงในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสม และทำการค้นคว้าได้ผล ซึ่งหมายถึงรู้จักเลือกรู้จักใช้แหล่งต่าง ๆ ของการค้นคว้า เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือการมีปัญหาใหม่ ๆ การศึกษาความคิดเห็นจองนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชานี้ ในด้านวัตถุประสงค์ของการเรียน เนื้อหาวิชา วิธีการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อการสอน การวัดประเมินผล และทัศนะที่มีต่อการเรียนวิชานี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงเนื้อหาวิชา กระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการวิชานี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็น นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรับศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ ในภาคต้น ปีการศึกษา 2542 จำนวน 207 คน จากนิสิตทั้งหมด 299 คน คิดเป็น 90.39% โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนรวม และชั้นเรียนย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และหาค่าคะแนนเฉลี่ย โดยสรุปผลการวิจัยได้ว่า 1. นิสิตเห็นว่า ทั้งหัวข้อการอ้างอิงเอกสาร และการค้นคว้ามีรายละเอียดเนื้อหาวิชาเหมาะสมระดับปานกลาง ภายหลังการเรียนหัวข้อการอ้างอิงเอกสารแล้ว นิสิตส่วนใหญ่เข้าใจการอ้างอิงเอกสารมากขึ้นในระดับมาก แต่สามารถอ้างอิงเอกสารได้ถูกต้องระดับปานกลาง และสามารถค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ในระดับมาก นอกจากนี้นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าการวัดและประเมินผล หัวข้อการอ้างอิงเอกสารมีความเหมาะสมระดับปานกลาง และการเรียนรู้ในหัวข้อการอ้างอิงเอกสารและการค้นคว้า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับมาก 2. จากการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม และชั้นเรียนย่อย พบว่า นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีการสอน หรือการอธิบายในชั้นเรียนรวมมีความเหมาะสมระดับปานกลาง ในขณะที่ในชั้นเรียนย่อยนิสิตเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับมาก นิสิตเห็นว่าการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนรวม และชั้นเรียนย่อยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นระดับมาก สื่อการสอน power point ที่ใช้สอนในชั้นเรียนรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ในชั้นเรียนย่อยอาจารย์ผู้สอนกลุ่มย่อยตรงเวลาในการตรวจและคืนงาน วิจารณ์แบบฝึกหัด และให้คำแนะนำนิสิตได้ชัดเจน และตรวจแบบฝึกหัด และให้คะแนนเป็นธรรมในระดับมาก 3. จากการศึกษาความสนใจเข้าเรียน และความตรงต่อเวลา ในการเข้าชั้นเรียนของนิสิตทั้งในชั้นเรียนรวม และชั้นเรียนย่อยอยู่ในระดับมาก นิสิตปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ประจำกลุ่ม พยายามเรียนรู้ฝึกฝน และแก้ไขข้อบกพร่องในชั้นเรียนย่อยระดับมาก ในขณะที่นิสิตแต่ละคนสนใจวิชานี้ในชั้นเรียนรวมระดับปานกลาง แต่นิสิตส่วนใหญ่คิดว่านิสิตชั้นปีที่ 1 โดยรวมให้ความสนใจวิชานี้ระดับน้อย 4. จากการศึกษาทัศนะของนิสิตที่มีต่อการเรียนทั้งในชั้นเรียนรวม และชั้นเรียนย่อยพบว่าการเรียนการสอนหัวข้อการอ้างอิงเอกสาร และการค้นคว้าที่สอนในชั้นเรียนรวมเป็นประโยชน์ และมีคุณค่าระดับมาก แต่พึงพอใจการเรียนการสนอในหัวข้อทั้งสองนี้ระดับปานกลาง ส่วนการเรียนการสอนในชั้นเรียนย่อย นิสิตเห็นว่าตนเองมีพัฒนาการด้านทักษะการเขียน และการค้นคว้าดีขึ้นในระดับปานกลาง ขณะเดียวกันการฝึกทักษะการเขียนมีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อการเรียนวิชาอื่น และพึงพอใจกับการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ในระดับมาก 5. จากการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อประโยชน์ของแบบฝึกหัดแต่ละประเภท นิสิตเห็นว่าได้ประโยชน์จากการทำแบบฝึกหัดการเขียนความเห็นเสรี การจัดประเด็น การเขียนวิจารณ์ในระดับมาก ในขณะที่ได้ประโยชน์จากแบบฝึกหัดการสรุปความ การเขียนคำจำกัดความ และแบบฝึกหัดการเขียนเชิงโต้แย้งในระดับปานกลาง ผลจากการศึกษาครั้งนี้แม้เป็นเพียงการศึกษาจากความคิดเห็นของนิสิตชั้นปีที่ 1 กลุ่มเดียว แต่ก็นับว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะนอกจากเป็นการสะท้อนปัญหา และความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับทราบ และเป็นแนวทางสำหรับอาจารย์ผู้สอนทั้งในชั้นเรียนรวม และชั้นเรียนย่อย ในการนำไปปรับปรุง และแก้ไขการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์สำหรับนิสิตโดยรวมแล้ว ผลจากการศึกษาบางประเด็นยังเป็นประโยชน์ในการกำหนดเนื้อหาวิชา วิธีการเรียนการสอน และเป็นแนวทางสำหรับการจัดการวิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ต่อไปen
dc.format.extent14342684 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมศาสตร์--การศึกษาและการสอนen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์--นิสิตen
dc.subjectการค้นข้อสนเทศ--การศึกษาและการสอนen
dc.subjectการเขียนรายงาน--การศึกษาและการสอนen
dc.titleความคิดเห็นของนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ (240-0102) ปีการศึกษา 2542en
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorNarumon.K@chula.ac.th-
Appears in Collections:Pol - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naruemon(skills).pdf9.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.