Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72277
Title: โพยก๊วน : การส่งเงินกลับประเทศโดยชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย
Other Titles: Poeykwan : the remittance among overseas Chinese in Thailand
Authors: สุชาดา ตันตสุรฤกษ์
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
ภูวดล ทรงประเสริฐ
Advisor's Email: Supang.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชาวจีน -- ไทย
ชาวจีนในต่างประเทศ
โพยก๊วน
Chinese -- Thailand
Chinese -- Foreign countries
Emigrant remittances -- Thailand
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าประสงค์ในการศึกษา 3 ประการด้วยกันคือ ประการแรกเพื่อศึกษาลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของชาวจีนในประเทศไทยที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งเงินกลับประเทศด้วยวิธีโพยก๊วน ประการที่สองเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและวิวัฒนาการของการส่งเงินกลับประเทศด้วยวิธีโพยก๊วนในหมู่ชาวจีนในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และประการสุดท้ายเพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเงินกลับประเทศ ในรูปแบบโพยก๊วนและแนวโน้มของโพยก๊วน โดยตั้งสมมติฐานการส่งเงินกลับประเทศโดย ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยเป็นผลจากความผูกพันทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดระเบียบสังคมชองชาวจีน รูปแบบและวิวัฒนาการของการส่งเงินกลับประเทศด้วยวิธีโพยก๊วนเป็นผลจากความผูกพันทางวัฒนธรรมดังกล่าว และขึ้นอยู่กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของทั้งสองประเทศ สำหรับวิธีดำเนินการค้นคว้านั้น ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยจงใจที่จะเชื่อมโยงศาสตร์ทางด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน และใช้แหล่งข้อมูลที่สำคัญ คือ ข้อมูลจากเอกสารทั้งเอกสารชั้นต้นและชั้นรองประกอบกับข้อมูลจากงานสนาม โดยเน้นศึกษาเฉพาะชาวจีนแต้จิ๋วในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๐ ตัวอย่าง และอาศัยเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลมากและมีคุณค่าแก่การวิจัย จากการศึกษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ของชุมชนชาวจีนในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศจีน และลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนชาวจีนในไทย ทำให้พบว่าชาวจีนมีค่านิยมที่เป็นแบบอย่างเฉพาะตัว และได้นำติดตัวเข้ามาเมื่ออพยพเข้ามาในสังคมไทย ค่านิยมที่ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นมูลเหตุสำคัญของการส่งเงินกลับประเทศทางโพยก๊วน ๓ ประการคือ ความกตัญญูกตเวที แบบแผนทางเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันเองเหนือระดับครอบครัว จากการศึกษาถึงรูปแบบและวิวัฒนาการของโพยก๊วน วิวัฒนาการของการโพยก๊วน อาจแบ่งได้เป็น ๓ ระยะสำคัญตามตัวกำหนดอันส่งผลกระทบต่อกิจการ และรูปแบบของโพยก๊วนโดยตรง ได้แก่ ระยะที่ระบบธนาคารพาณิชย์ยังไม่เติบโต ระยะการควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และระยะหลังจากที่ประเทศไทย เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โพยก๊วนเป็นความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจที่ชาวจีนในประเทศไทยมีต่อถิ่นกำเนิด ในรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลกระทบและสะท้อนให้เห็นถึงภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของทั้งสองประเทศไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม จากการศึกษาถึงกิจการโพยก๊วนในปัจจุบัน อันเป็นงานวิจัยภาคสนามซึ่งผู้วิจัยศึกษาจากชาวจีนแต้จิ๋วในกรุงเทพ โดยมุ่งศึกษาถึงรูปแบบที่เปลี่ยนไปของการโพยก๊วนภายหลังจากการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และกลวิธีในการดำเนินกิจการโพยก๊วนในปัจจุบัน ตลอดจนพฤติกรรมการส่งเงินกลับประเทศทางโพยก๊วนได้พบว่า บทบาทของโพยก๊วนยังคงมีอยู่โดยอาศัยการดัดแปลงรูปแบบ กลวิธีในการดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและความเจริญของเทคโนโลยีทางการสื่อสารคมนาคมสมัยใหม่ ส่วนในแง่ของเป้าประสงค์ในการส่งเงินของผู้ที่ยังคงมีพฤติกรรมการส่งเงินอยู่เป็นไปในสองประการ ประการแรกเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีและความเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ประการที่สอง เพื่อเกื้อหนุนเครือญาติและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นดั้งเดิมของตน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการส่งเงินกลับประเทศของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย คือ ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคมและการเมือง เศรษฐกิจ และเมื่อนำปรากฎการณ์การส่งเงินกลับประเทศจำลองเข้ากับทฤษฎีค่านิยมของ Parsons ได้พบว่าพฤติกรรมการส่งเงินกลับประเทศ เป็นการกระทำที่สืบเนื่องมาจากค่าค่านิยมในสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิม อาศัยบูรณาการในระบบสังคมไทยที่สร้างสมและหล่อหลอมชาวจีนให้มีบุคลิกลักษณะเฉพาะของชาวจีนในประเทศไทย ชาวจีนเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องแสดงบทบาทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในค่านิยมดั้งเดิมทางด้านความกตัญญู ความรับผิดชอบต่อครอบครัว การเกื้อหนูนเครือญาติและการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในท้องถิ่นดั้งเดิม โดยมีข้อจำกัดของเงื่อนไขต่าง ๆ ทางสังคมเศรษฐกิจ การเมืองที่เแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวหรือดัดแปลงวิธีการต่าง ๆ ในการส่งเงินกลับประเทศทางโพยก๊วนให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าการส่งเงินกลับประเทศด้วยเป้าประสงค์ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที โดยการส่งเงินไปให้ญาติทำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทนตนในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ คงจะค่อย ๆ ลดลง หรืออาจจำกัดอยู่เพียงชาวจีนรุ่นอพยพ ส่วนการส่งเงินกลับประเทศเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว การเกื้อหนุนเครือญาติ และการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในท้องถิ่นดั้งเดิม ยังไม่ปรากฏแนวโน้มที่ชัดเจนในการวิจัยนี้
Other Abstract: The three objectives of this research are : to study the social, economic, political and cultural structure of the overseas Chinese in Thailand which to money remittance, are related to examine the pattern and development of Poeykwan (remittance) in Thailand, and to analyze factors which affect Poerykwan. In so doing, this research has established the following hypothesis : remittance to the motherland is the result of the cultural ties adapted by the socio - cultural characteristics of the overseas Chinese in Thailand. As a qualitative study, the research employs different approaches in sociology, anthropology and history for the analysis of both primary and secondary data. At times, information gathered from the indepth interviews of twenty Teochiu Chinese families in Bangkok is added. The socio - cultural characteristics of Chinese people in the South and Southeastern part of China and those who resided in Thailand emphasize certain values. They are gratitude, attachment to kinship, and the tendency to organize a social group beyond the family level for public service purposes. Those values ​​are favorable to the remittance behavior. Poeykwan or the remittance has three stages of development. The first stage dated back to the period when commercial banks were limited in numbers and there was a need for a special service of sending money. Later, when the Bank of Thailand was established and it began to exercise its control over the Poeykwan activities, this is considered to be the second stage. Recently, when Thailand re - established her diplomatic relationship with the People's Republic of China, the pattern and development of Poeykwan reached its third stage. By considering Poeykwan economically, we can see the economic ties of overseas Chinese to their homeland as conditioned directly and indirectly by the socio - economic and political situations of the two countries. Field work data reveal that Poeykwan still exists, but it modify its pattern and techniques to comply with economic and political changes through times. Also, modern technology especially advanced telecommunication net work has some impacts on the pattern of remittance. As for its objectives, people who send back the money have two motivations : to express their gratitude and sense of responsibility to their family; and to help their kinsmen and to give public services to their ancestral land. Three major factors which affected Poeykwan activities are cultural, political and economic factors. When we apply Parsons' theory of value to the Poeykwan behavior, it appears that the cultural factor which impinges three values ​​namely : gratitude, attachment to kinship, and group organization for public service purposes is the preponderant factor. Those values ​​are integrated into the Thai social system and inspired overseas. Chinese to act accordingly. However, Chinese people in Thailand adapt Poeykwan pattern and techniques in accordance with the socio - economic and political changes in both countries. There is a tendency that the remittance for ancestral worship motivated by gratitude will be limited to the first generation of Chinese migrants due to the direct ties with their parents. The remittance will be decreasing with the second and Third generation of migrants. However, the remittance motivated by attachment to kinship and intention to do some public services in their homeland may continue. It will be premature to foresee its tendency in this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72277
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.130
ISBN: 9745674826
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.130
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_ta_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.32 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ta_ch0_p.pdfบทนำ854.04 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ta_ch1_p.pdfบทที่ 14.92 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ta_ch2_p.pdfบทที่ 26.69 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ta_ch3_p.pdfบทที่ 32.17 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ta_ch4_p.pdfบทที่ 42.05 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.