Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72426
Title: Social network as a strategic resource of Thai exporting SMEs
Other Titles: เครือข่ายทางสังคมในฐานะของทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ทำการส่งออกของประเทศไทย
Authors: Bhubate Samutachak
Advisors: Achara Chandrachai
Pakpachong Vadhanasindhu
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Commerce and Accountancy
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: Social networks
Export controls
Small business
เครือข่ายสังคม
การควบคุมสินค้าขาออก
ธุรกิจขนาดกลาง
ธุรกิจขนาดย่อม
Issue Date: 2000
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study is based upon two major theories: the Social Network Theory of the Sociology and the Resource-based Theory of the Strategic Management. The main purpose of the study is to test whether social network contributes to export performance of Thai exporting SMEs in the food and agricultural products industry. The hypotheses are divided into two parts. The first part is the testing of the social network’s characteristics, as prescribed by the Resource-based theory. The second part is the testing of the impact of social network on export performance. In this study, social network is represented by three components : centrality, proximity, and expressiveness. Centrality is the number of person with whom SMEs’s owners are in contact, to enhance their export performance. Proximity is the frequency of contact and expressiveness is the closeness of the relationship. These three components are hypothesized, in this study, as having the four characteristics of the strategic resources as prescribed in the Resource-based theory. These four characteristics are heterogeneity, imperfect imitability, imperfect substitutability, and imperfect mobility. In testing the impact of social network on export performance, both objective and subjective export performances are used. The study is in the survey research category. A questionnaire is developed as the instrument to collect data. The sample is the small-and medium-sized enterprises, in the food and agricultural products industry, which are currently exporting their products. The questionnaire is developed from the literature review and is refined by the information gathered from the in-depth interview sessions with 5 SMEs’ owners. The revised questionnaire is then used to collect the data from 486 SMEs. The usable 111 questionnaires were returned, accounted for 22.7%. The collected data was analyzed by the simple regression techniques to derive the conclusion of the study. The results of the study, which are derived from the testing of 7 hypotheses, shows that social network has the characteristics of imperfect substitutability and imperfect mobility, but not heterogeneity and imperfect imitability. therefore it cannot be categorized as a strategic resource, according to the Resource-based theory. However, the results reveal that social network has a positive relationship with export performance. Centrality and the interaction effect between centrality and expressiveness show a significant relation to export performance. However, proximity in this study fails to act as a moderator of the relationship between centrality and export performance. The statistical result leads to the conclusion that SMEs should pay attention not only to the business function, in order to increase export performance, but also to the people they should know, Size and diversity of the network contribute to network efficiency as they conjugate varieties of useful resources and necessary information. Closeness is also vital to the success of exporting activities as it facilitates the transfer of the resources and information into the firms.
Other Abstract: การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเครือข่ายทางสังคมที่มีผลต่อการส่งออกนี้ อยู่บนพื้นฐานทฤษฎีสำคัญ สองทฤษฎี คือ ทฤษฎี เครือข่ายทางสังคม (Social Network Theory) ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และ ทฤษฎีทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ (Resource-based Theory) ในสาขาวิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์อันมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อศึกษาว่าเครือข่ายสังคม ของผู้ประกอบการไทยในวิสาหกิจ ขนาดกลาง และขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมอาหาร และสินค้าการเกษตร มีส่วนช่วยเหลือกิจกรรมการส่งออกสินค้าหรือไม่ เนื้อหาของงานวิจัย แบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญคือ การทดสอบคุณ สมบัติของเครือข่ายสังคมว่ามีคุณ สมบัติเป็น ทรัพยากรเชิงกลยุทธ์หรือไม่ ประการหนึ่ง และการศึกษาผลกระทบของเครือข่ายสังคมของผู้ประกอบการ ที่มีต่อการส่งออก อีกประการหนึ่ง ในงานวิจัยชิ้นนี้ เครือข่ายสังคม ประกอบด้วย 3 ส่วน ประกอบสำคัญคือ จำนวนบุคคลที่ทำการรู้จักและติดต่อ (Centrality), ความถี่ของการติดต่อ (Proximity), และ ความใกล้ชิดของการติดต่อ (Expressiveness) ส่วนคุณสมบัติของทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ตามทฤษฎี Resource-based มี 4 ประการสำคัญ คือ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะ (Heterogeneity), ความไม่สามารถถูกลอกเลียนแบบได้อย่างสมบูรณ์ (Imperfect Instability), ความไม่สามารถถูกทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ (Imperfect Substitutability), ความไม่สามารถถูกโยกย้ายได้อย่างสมบูรณ์ (Imperfect Mobility) โดยวัดผลประกอบการในการส่งออก มีการใช้ตัววัดทั้งที่เป็นอัตนัย (Subjective) และที่เป็นปรนัย (Objective) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าการเกษตร โดยก่อนที่จะมีการลงมือสำรวจเก็บข้อมูลจริง ได้จัดให้มีการสัมภาษณ์เจ้าของกิจการในเชิงลึก เพื่อนำมาปรับปรุงแบบสอบถามในขั้นแรก จากนั้นจึงได้นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 บริษัท ในขั้นต้น เพื่อนำผลมาปรับปรุงแบบสอบถามอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษาจริง จำนวน 487 บริษัทโดยมีข้อมูลตอบกลับที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ได้ 111 บริษัท คิดเป็น 22.79 % ของแบบสอบถามที่ส่งออกไปโดยข้อมูลดิบที่ได้รับจะถูกประมวลผลในทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) เพื่อนำไปสู่การ สรุปผลการวิจัยต่อไป การวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีการสร้างแบบสอบถามเพื่อการทดสอบสมมติฐานสำคัญ 7 สมมติฐาน โดยผลการวิจัย พบว่า เครือข่ายสังคม แม้จะมิได้มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ ตามทฤษฎีทรัพยากรเชิงกลยุทธ์โดยมีเพียงคุณ สมบัติ ความ ไม่สามารถถูกทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ และคุณสมบัติความไม่สามารถถูกโยกย้ายได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ได้แสดงความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างชัดเจนกับผลประกอบการการส่งออก ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า Centrality แสดงความสัมพันธ์กับผลประกอบการ ในการส่งออก รวมทั้งการส่งผลร่วมกันระหว่าง Centrality และ Expressiveness ก็แสดงความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลประกอบการ ในการส่งออกด้วยเช่นกัน แต่กลับไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างผลประกอบการในการส่งออกกับการส่งผลร่วมกันระหว่าง Centrality กับ Proximity กล่าวโดยสรุปคือ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการส่งออกนั้น Centrality และ Expressiveness ซึ่งได้แก่ความใกล้ชิดของการติดต่อ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสนับสนุนให้ผลประกอบการในการส่งออกดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชิ้นนี้มีสามารถสรุปได้ว่า ความถี่ในการติดต่อเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนผลประกอบการการส่งออก การสร้างผลประกอบการในการส่งออกให้ดีขึ้นนั้นผู้ประกอบการไม่ควรมุ่งเน้นเพียงแต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตและการจำหน่าย หากแต่ยังต้องให้ความสำคัญ กับการสร้างเครือข่ายทางสังคม อันจะเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการ จะได้รับทรัพยากร และข้อมูลสำคัญ ต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายทางสังคมดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงจำนวน และความหลากหลายของ บุคคลและหน่วยงานที่เข้ามาอยู่ในเครือข่าย อันเป็นทางที่จะเพิ่มจำนวน และความความหลากหลายของทรัพยากร และข้อมูลสำคัญ อีกทั้งผู้ประกอบการยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของความสัมพันธ์กับบุคคลและองค์กรในเครือข่ายด้วย
Description: Thesis (D.B.A.)--Chulalongkorn University, 2000
Degree Name: Doctor of Business Administration
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Business Administration
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72426
ISBN: 9740300391
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhubate_sa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ894.95 kBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1683.12 kBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_ch2_p.pdfบทที่ 2981.75 kBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_ch3_p.pdfบทที่ 3847.33 kBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.07 MBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_ch5_p.pdfบทที่ 51.94 MBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_ch6_p.pdfบทที่ 6989.39 kBAdobe PDFView/Open
Bhubate_sa_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.