Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72500
Title: ปัจจัยอันเป็นมูลเหตุของการย้ายถิ่นของประชากรในชนบทของประเทศไทย
Other Titles: Factor affecting migration in rural Thailand
Authors: เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์
Advisors: ปรีชา แสงสว่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การย้ายถิ่นภายในประเทศ -- ไทย
Migration, Internal -- Thailand
Internal migrants -- Thailand
Issue Date: 2513
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาและวิจัยครั้งนี้คือต้องการศึกษาถึงปัจจัยอันเป็นมูลเหตุของการย้ายถิ่นของประชากรในชนบทของประเทศไทยอาศัยข้อมูลแบบปฐมภูมิจากโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรของประเทศไทยในส่วนที่เป็นการวิจัยในเขตชนบทรอบแรกดำเนินการโดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างทั่วประเทศได้ขนาดตัวอย่างประมาณ ๑ ต่อ ๒,๐๐๐ ครัวเรือนในเขตชนบทได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามทำการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างเกี่ยวลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือน วิทยานิพนธ์นี้มิได้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาเพื่อพิสูจน์สมมติฐานใดๆ หากแต่มุ่งที่จะศึกษาเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัจจัยอันอาจยังผลต่อการย้ายถิ่นของประชากรในชนบทของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นสำคัญ จากการศึกษาถึงลักษณะเบื้องต้นของข้อมูลพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของหัวหน้าครัวเรือนชายที่ตกเป็นตัวอย่างมีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปร้อยละ ๙๘ เป็นผู้ที่สมรสแล้วเกือบ ๓ ใน ๔ หรือประมาณร้อยละ ๗๓ มีระดับการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมปีที่ ๗ ประมาณร้อยละ ๗๔ มีอาชีพเกษตรกรรม หัวหน้าครัวเรือนทั้งหมดมีการติดต่อกับสังคมภายนอกไม่บ่อยนักและเมื่อพิจารณาฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวโดยทั่วไปแล้ว ปรากฎว่าประมาณครึ่งหนึ่งของหัวหน้าครัวเรือนทั้งหมดมีฐานะทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง และประมาณครึ่งหนึ่งที่ให้คำตอบว่ามีความเพียงพอในขนาดที่ดินที่ถือครองเพื่อการเกษตรและมีผลิตผลทางการเกษตรเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของครอบครัว มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในด้านโครงสร้างทางอายุของผู้ไม่เคยย้ายถิ่นและผู้เคยย้ายถิ่นโดยทั่วๆ ไปแล้วปรากฎว่าผู้เคยย้ายถิ่นส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงกว่าผู้ไม่เคยย้ายถิ่นในทำนองเดียวกันผู้เคยย้ายถิ่นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีอัตราส่วนน้อยกว่าผู้ไม่เคยย้ายถิ่นอย่างเห็นได้ชัดนอกจากนี้ผู้เคยย้ายถิ่นยังมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากกว่าผู้ไม่เคยย้ายถิ่นและเมื่อพิจารณาถึงฐานะทางเศรษฐกิจปรากฎว่าผู้เคยย้ายถิ่นมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงกว่าผู้ไม่เคยย้ายถิ่นและประมาณร้อยละ ๘ ของหัวหน้าครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างมีความต้องการที่จะย้ายถิ่น จากการศึกษาถึงปัจจัยอันอาจยังผลต่อการย้ายถิ่นพบว่าเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญอันอาจยังผลต่อความต้องการย้ายถิ่นกล่าวคือประมาณร้อยละ ๗๐ ของผู้ที่ให้คำตอบว่าต้องการย้ายถิ่นให้เหตุผลว่าเนื่องมาจากสาเหตุทางเศรษฐกิจเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ปรากฎว่าเกษตรกรผู้มีผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของครัวเรือนและเกษตรกรผู้ต้องเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรมีความต้องการย้ายถิ่นสูง นอกจากนี้ปรากฎว่ากลุ่มหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุน้อยมิได้มีความต้องการย้ายถิ่นสูงหากแต่หัวหน้าครัวเรือนในกลุ่มอายุ ๓๕ – ๓๙ และ ๔๕ -๔๙ ปีมีความต้องการย้ายถิ่นสูงที่สุด ปัจจัยทางสังคมที่สำคัญคือการศึกษาปรากฎว่ามีผู้ต้องการย้ายถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้มีระดับการศึกษาสูงรวมทั้งผู้ที่มีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากกว่าจะมีความต้องการย้ายถิ่นสูงกว่าด้วย การศึกษาครั้งนี้นอกจากจะให้ประโยชน์ทางวิชาการโดยเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการย้ายถิ่นในสาขาวิชาประชากรและเป็นพื้นฐานในการเปรียบเทียบกับการศึกษาและวิจัยที่คล้ายคลึงกันแล้วยังอาจเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
Other Abstract: The purpose is to study factors which potentially affect internal migration in rural Thailand. Data were collected from the “National Longitudinal Survey of Social, Economic and Demographic Change in Thailand,” conducted by the Population Research and Training Center, Chulalongkorn University, April – May 1969. The sample is a stratified selection of 1:2,000 of all households in rural areas. The sample size was 1,118 male heads of households. The method used in collecting data was questionnaires. The emphases in the present study are on differences between those who never and ever moved, (in various characteristics), and also, factors which encourage them to move. This study does not try to prove or disprove any hypothesis. Moreover, because of the lack of data, factors which affected internal migration in rural areas cannot be determined completely. Basic characteristics were as follows: 57 per cent of heads of households were aged 40 years or more, 98 per cent were married, 73 per cent did not complete more than 7 years of school, 75 per cent had agricultural occupations. They had occational contacts with the outside world. Concerning economic status, 46 per cent of them had moderate level. There was little difference in age structure between those who never and ever moved. In general, those who ever moved studied in higher grades than those who never moved. The proportion of heads of households who had agricultural occupations was less among those who ever moved. In addition, they had more frequent contacts with the outside world, and they also had higher economic status than these who never moved. Among heads of households, about 8 per cent intent to move. It was found in this study that the economic factor is the main one affecting their intention, because not only farmers who have lower economic status usually intend to move, but also farmers who own little land, do not farm enough land (either owned or rented), and do not produce a large quantity of crops. Concerning demographic factors, it was found that heads of households who intend to move are most often of age 35-39 years. Educational composition was one of the social factors which strongly affected their intention to move. Those who had high intention to move usually were of higher educational level. Another influence was the contact with the outside world, for it was found that those who had frequent contact with the outside world had high intentions to move. In addition to, having the academic benefit of accumulating more information about internal migration and laying a basis for comparison with later similar studies, this research project can be helpful as a guide in constructing a suitable policy for economic and social development.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2513
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72500
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1970.5
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1970.5
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เพ็ญพร_ธีระสวัสดิ์_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.06 MBAdobe PDFView/Open
เพ็ญพร_ธีระสวัสดิ์_ch1_p.pdfบทที่ 11.18 MBAdobe PDFView/Open
เพ็ญพร_ธีระสวัสดิ์_ch2_p.pdfบทที่ 21.78 MBAdobe PDFView/Open
เพ็ญพร_ธีระสวัสดิ์_ch3_p.pdfบทที่ 32.4 MBAdobe PDFView/Open
เพ็ญพร_ธีระสวัสดิ์_ch4_p.pdfบทที่ 41.1 MBAdobe PDFView/Open
เพ็ญพร_ธีระสวัสดิ์_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก740.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.