Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7254
Title: นโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาลไทยระหว่าง พ.ศ.2494-2519
Other Titles: The Thai government's policies to develop the Northeast, 1951-1976
Authors: สมศรี ชัยวณิชยา
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Piyanart.B@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาเศรษฐกิจ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การพัฒนาชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2494-2519
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษากระบวนการกำหนดนโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาล ไทยระหว่าง พ.ศ. 2494-2519 ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ รัฐบาลไทยระหว่าง พ.ศ. 2494-2519 ก่อตัวและดำเนินการจากบริบทในสังคมได้แก่ การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ เศรษฐกิจและทุพภิกขภัย สถาบันที่มีบทบาทในการกำหนดและสะท้อน ผลการดำเนินนโยบายการพัฒนาของรัฐบาลคือสถาบันรัฐสภา โดยเฉพาะบทบาทสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะต่างๆ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ พ.ศ. 2495-2501 ได้นำ เสนอปัญหา สะท้อนผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลด้านการศึกษา ปัญหาทุพภิกขภัย ที่เกิดจากลักษณะของที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของภาค ส่งผลให้การเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ไม่ได้ผล, ระยะ พ.ศ. 2512 และพ.ศ. 2514 ได้เสนอปัญหา สะท้อนผลการดำเนิน และข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ด้านความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ปัญหาทุพภิกขภัย ปัญหาจาก โครงการพัฒนาของรัฐบาล และระยะ พ.ศ. 2518-2519 ปัญหาสำคัญที่เสนอคือการแก้ปัญหาภัย คอมมิวนิสต์ของรัฐบาลที่ส่งทหาร เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย แต่ทหาร และเจ้าหน้าที่รัฐ กลับทำให้ประชาชนเดือดร้อน ปัญหาสำคัญที่เสนอรองลงมา คือ ปัญหาจากการดำเนินโครงการ พัฒนาชลประทาน ซึ่งยังคงสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน องค์กรของรัฐที่มีบทบาทในการ กำหนดและดำเนินนโยบายการพัฒนามี 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2494-2503 คือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตร และกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับองค์กร STEM และ JUSMAG กำหนดนโยบายโดยมีนัยยะทางการเมืองภายในอันสัมพันธ์กับ ปัญหาความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคอินโดจีนเป็นสำคัญ โครงการพัฒนา ส่วนใหญ่มุ่งเตรียมการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือและลาว มิได้มุ่งพัฒนาเพื่อแก้ไข สภาพเศรษฐกิจอันมาจากสภาพที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระยะการวาง แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2504-2519 องค์กรของรัฐที่สำคัญ คือสภาพัฒนาการ เศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง มหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงพัฒนาการ แห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ องค์กรเหล่านี้ปรับเปลี่ยนการกำหนดนโยบายการพัฒนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ พร้อมกับการพัฒนาเพื่อต่อต้านภัย คอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน อันเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบายไทยกับสหรัฐอเมริกา การดำเนินนโยบายดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจการค้าทุนนิยม ขณะเดียวกันโครงการพัฒนาชลประทานเพื่อแก้ปัญหาทุพภิกขภัยยังไม่ประสบผล การดำเนินนโยบายดังกล่าวส่งผลให้สัมพันธภาพของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ต้องพึ่งพาพ่อค้ามากขึ้น โดยการกู้ยืมเงินและอพยพแรงงานในต่างถิ่น
Other Abstract: This dissertation studies the process of the Thai governments policies to develop the Northeast from 1951 to 1976. The Thai government{7f2019}s policies to develop the Northeast during the period from 1951-1976 have been determined and shaped by social contexts such as internal politics, foreign politics, the economy and scarcity. The Parliament, especially members of the House of representatives from the Northeast played the important role of assigning and implementing the government{7f2019}s policies during three periods: 1) 1952-1958 that suggested and implemented development projects on problems of education and emphasized resource scarcity by location and geography including insufficient water and poor soils; 2) 1969 and 1971 that suggested and implemented development projects on problems of security in the Indochina countries, scarcity of resources and also the proceeding of development projects that caused trouble for villagers, such as, failed dams; 3) 1975-1976 that suggested and implemented development projects to resist communist activities in the local villages, however these resulted in more problems for villagers, including failed irrigation projects. The role of government organizations in assigning and implementing development policies occurred in two periods; 1) Before Economic Development Planning, during 1951-1960 key players included the ministry of Interior, ministry of Defense, ministry of Agricultural, ministry of Education together with STEM and JUSMAG which determined the meaning of internal politics and security problems with Indochina that were related to all of the development projects. All of the development projects emphasized preparing to resist communists in North Vietnam and Laos; they did not emphasize solving economic issues that were basic problems for the Northeast region 2) During the Economic Development Planning period, from 1961-1976, key players were the National Economic Development Council, Northeast Development Committee, the Office of the Prime Minister, ministry of Interior, ministry of Defense, ministry of Industry, ministry of Economy, ministry of National Development, and the National Security Council. All of the government organizations reformed economic policies and emphasized economic growth together with development projects to resist communists in the Indochina countries. During this period the Thai government cooperated with the United States of America. Moreover, the implementation of development porjects emphasized communication first, second agriculture and then industry. The results and effects of these projects changed the economy from subsistence based agriculture to capitalism. However, many of the irrigation projects failed to improve the lives of the people in the Northeast. Moreover, these changes have affected relations between villagers in the Northeast, especially the relationship between farmers and merchants where farmers depended on merchants more than in the past. Also more villagers have migrated to towns or cities to become laborers.
Description: วิทยานิพนธ์(อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7254
ISBN: 9745324779
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somsri.pdf7.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.