Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/727
Title: การผลิตและใช้ประโยชน์จากลิกไนต์ในประเทศไทย : การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Coal production and utilization in Thailand : an econometric modelling
Authors: ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์
Email: Chaiwoot.C@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: ลิกไนต์--ไทย--อุปทานและอุปสงค์
ถ่านหิน--ไทย--อุปทานและอุปสงค์
ลิกไนต์--ไทย--แบบจำลองทางเศรษฐมิติ
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อพัฒนาเศรษฐมิติโมเดลเพื่อการวิเคราะห์และพยากรณ์ การผลิตและการใช้ประโยชน์จากถ่านหินภายในประเทศ และประการที่สอง เพื่อเป็นลู่ทางในการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลสาขาพลังงานของอาเซียน ตั้งแต่วิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่สองในปี 2522 เป็นต้นมาการผลิตและการใช้ประโยชน์จากถ่านหินในประเทศไทย ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 75 ของถ่านหินที่ผลิตได้ทั้งหมดในปี 2532 การผลิตถ่านหินในสาขานี้ได้ขึ้นจาก 0.48 ล้านตันในปี 2521 เป็น 6.7 ล้านตันในปี 2532 การใช้ประโยชน์จากถ่านหินเพื่อการอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน นับตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา สาขาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมซีเมนต์ ได้พยายามรักษาเสถียรภาพอุปทานในระยะยาวโดยใช้พลังงานจากแหล่งถ่านหินในประเทศ เป็นผลให้การผลิตถ่านหินในสาขานี้เพิ่มจาก 0.16 ล้านตันในปี 2521 เป็น 0.55 ล้านตันในปี 2528 และ 2.2 ล้านตันในปี 2532 จากการศึกษาของธนาคารโลก ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของถ่านหินในประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยคาดว่าจะมีถึง 0.33 ล้านตันในปี 2543 ในการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวทั้งในระยะกลางและระยะยาว รัฐบาลจำเป็นจะต้องกระตุ้นให้มีการสำรวจและพัฒนาแหล่งถ่านหินใหม่ๆ ส่วนระยะสั้นจำเป็นที่จะต้องบริหารการใช้ถ่านหินที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันปัญหาในการเวนคืนที่ดินและสภาวะแวดล้อมก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะกลับไปเป็นปัญหาในการผลิตและการใช้ถ่านหินอีก จากผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ายังมีปัญหาเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดิน และสภาวะแวดล้อมค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามในระยะสั้น อุปสงค์และอุปทานของถ่านหินนั้นถูกกำหนดโดยราคาถ่านหินในประเทศ และราคาถ่านหินนำเข้า เป็นที่แน่ชัดว่า การสำรวจและพัฒนาถ่านหินในประเทศนั้น เป็นผลมาจากการที่อัตราภาษีนำเข้าถ่านหินอยู่ในระดับสูง จากการประมาณการอุปสงค์ และอุปทานของถ่านหินไปจนถึงปี 2543 แสดงให้เห็นว่าจะมีการขาดแคลนถ่านหินในประเทศไทยในสาขาอุตสาหกรรม ซึ่งผลของการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาของธนาคารโลก จากพื้นฐานดังกล่าวนี้ทำให้เป็นไปได้ว่าการนำเข้าถ่านหินจะเพิ่มบทบาทสำคัญในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะกดดันให้รัฐบาลต้องลดภาษีนำเข้าถ่านหินลง
Other Abstract: The purpose of this study is twofold; to develop an econometric model capable of analyzing and projecting domestic production and utilization of coal; and to provide some useful evidence for developing an econometric model of ASEAN's energy sector. Since the second oil crisis of 1979, coal production and utilization in Thailand have been increasing rapidly, especially in the power sector which accounted for 75 percent in 1989. Total coal production in this sector increased from 0.48 million tons in 1978 to 6.7 million tons in 1989. Prospects for non-power uses of domestic coal have also changed dramatically. Since 1985, the industrial sector, in particular the cement industry, has been striving to secure long-term supply from domestic coal sources. As a result, the non-power production of coal increased from 0.16 million tons in 1978 to 0.55 million tons in 1985 and to 2.2 million tons in 1989. According to the World Bank's study, the gap between demand and domestic supply of coal is expected to grow very rapidly reaching one million tons p.a. by 1992. To remedy the situation in the medium and long terms, the government needs to take certain actions to encourage a more active role in exploration and production of coal. In the short term, it is necessary to allow the effective use of the discovered deposits. Meanwhile, there is a growing concern regarding the requirements of land reclamation and the environmental aspects which would in turn effect coal mining and coal use. The results of this study show that land reclamation and environmental factors have rather minor impacts on the domestic coal industry. However, in the short run the demand and supply of domestic coal are largely determined by inland price and import price of coal. Clearly, exploration and domestic production of coal are stimulated by a high duty of coal import. Projecting demand and supply of coal up to the year 2000 indicates that there will be a shortage of coal in Thailand for non-power use. The results described here are consistent with those obtained in the World Bank's study. Using this basis, it is likely that coal imports will play an important role in the future. This will also pressure the government to reduce the high import duty.
Description: เสนอต่อศูนย์วิจัยและอบรมพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/727
Type: Technical Report
Appears in Collections:Econ - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwoot(coal).pdf7.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.