Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73064
Title: ปัญญาสชาดก : ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย
Other Titles: Pannasa Jataka : its genesis and significance to Thai poetical works
Authors: นิยะดา สาริกภูติ
Advisors: คมคาย นิลประภัสสร
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
วัชรี รมยะนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปัญญาสชาดก
ชาดก
Pannasa Jataka
Jataka stories
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาประวัติการแต่งปัญญาสชาดก ที่มาของเรื่อง พัฒนาการของชาดกในปัญญาสชาดกอย่างละเอียด และศึกษาปัญญาสชาดกภาษาพม่า ภาษาเชียงตุง ภาษาเขมร ภาษาลาว เพื่อพิจารณาถึงการแพร่กระจายและความผิดแผกระหว่างฉบับต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้พิจารณาวรรณกรรมร้อยกรองของไทย รวม 63 สำนวน ที่ได้รับอิทธิพลในด้านที่มาจากปัญญาสชาดกด้วย วิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 8 บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของชาดก นับแต่คัมภีร์ชาดกในพระไตรปิฎก อรรถกถาชาดก บทที่ 2 กล่าวถึงประวัติการแต่ง และความนิยมปัญญาสชาดกที่ปรากฏในวรรณคดีไทย บทที่ 3 ได้พิจารณาถึงการแพร่กระจายของปัญญาสชาดกในประเทศใกล้เคียง คือ พม่า ลาว เขมร การศึกษาในเรื่องดังกล่าวนี้ได้อาศัยต้นฉบับปัญญาสชาดกภาษานั้น ๆ บทที่ 4 วิเคราะห์องค์ประกอบของชาดก เนื้อหาและลักษณะของชาดกในปัญญาสชาดกซึ่งจำแนกตามอิทธิพลของที่มา บทที่ 5 กล่าวถึงพัฒนาการของชาดกในปัญญาสชาดกในด้านโครงเรื่อง ลักษณะและพฤติกรรมของตัวละคร บทที่ 6 กล่าวถึงวรรณกรรมร้อยกรอง 63 สำนวน ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญญาสชาดก บทที่ 7 กล่าวถึงอิทธิพลด้านจริยธรรมของปัญญาชาดกที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองซึ่งปรากฏในรูปของการแทรกคำสอน และการให้ความสำคัญว่างานนั้นเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา บทที่ 8 คือ บทสรุปซึ่งรวมทั้งข้อเสนอแนะ ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ปัญญาสชาดกน่าจะแต่งก่อนปีพุทธศักราช 1808 ในดินแดนทางเหนือของประเทศไทย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นนครหริภุญไชย (ปัจจุบันคือลำพูน) ความนิยมปัญญาสชาดกได้แพร่กะจายไปในประเทศใกล้เคียง คือ พม่า ลาว เขมร ทำให้ดินแดนเหล่านี้มีปัญญาสชาดกภาษาของตน และเมื่อเปรียบเทียบกับปัญญาชาดกภาษาไทยแล้ว ฉบับเขมรมีความคล้ายคลึงมากที่สุด และฉบับลาวมีความแตกต่างมากที่สุด ที่มาของปัญญาสชาดกส่วนใหญ่ก็คือ วรรณคดีบาลีและสันสกฤต ในจำนวนนี้อรรถกถาชาดก คือ ที่มาที่สำคัญที่สุด กล่าวคือมีอิทธิพลในด้านโครงเรื่องและแนวความคิดต่อชาดกหลายเรื่องในปัญญาสชาดก ส่วนเรื่องพื้นบ้านซึ่งเดิมเคยเชื่อว่าคือที่มาที่สำคัญนั้น ผู้วิจัยพบว่ามีอิทธิพลเพียงส่วนน้อย ปัญญาสชาดกเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของวรรณกรรมร้อยกรองของไทย เท่าที่ศึกษาจากต้นฉบับตัวเขียน และฉบับพิมพ์ เป็นที่มาของวรรณกรรมร้อยกรองประเภทต่าง ๆ ถึง 63 สำนวน ชาดกเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ รถเสนชาดก ซึ่งเป็นต้นเค้าของวรรณกรรมร้อยกรอง 13 สำนวน ในบรรดาวรรณกรรมร้อยกรองที่ได้รับอิทธิพลในด้านที่มาจากปัญญาสชาดกนั้น วรรณกรรมประเภทคำกาพย์ (กลอนสวด) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกฝังจริยธรรมากที่สุด นอกจากอิทธิพลในด้านที่มาแล้ว ปัญญาสชาดกยังมีอิทธิพลในด้านโครงเรื่อง วิธีแต่งและการสั่งสอนต่อวรรณกรรมทั้ง 63 สำนวนอีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this dissertation is to study in detail the origin and development of Pannasa Jataka and each of the stories contained therein. In order to study the nature of the dissemination and the variations of the stories in Pannasa Jataka, the Thai, Burmese, Shan, Cambodian and Laotian versions are systematically compared. In addition, the research includes the study of sixty-three Thai poetical works which were influence by Pannasa Jataka The dissertation is divided into eight chapter. The first is introductory, giving general information in connection with the Jataka in the Tripitaka and in the Jataka Commentary. The second chapter gives an account of the history and development of Pannasa Jataka and its popularity in Thai literature. The third chapter deals with the spread of Pannasa Jataka into the neighboring countries, namely, Burma, Laos and Cambodia The investigation is based on versions found in these countries. The fourth chapter is the analysis of the composition, contents and characteristics of the jatakas in Pannasa Jataka classified according to sources. The development of the plots, the characters and their roles in each story in Pannasa Jataka are presented in the fifth chapter. The sixth chapter describes sixty-three Thai poetical works which were influence by Pannasa Jataka, either directly or indirectly. The seventh chapter deals especially with the didactic influence of Pannasa Jataka on these Thai Poetical works. This influence can be seen in the form that the poetical works utilize, the form of moral teaching, and also in the emphasis of the Buddhistic origin of the works. The conclusion and suggestions for further related studies are given in the final chapter. It is found in the research that Pannasa Jataka was written before B.E. 1808 in the northern part of Thailand, most likely in the city of Hari punchai. After 1808, the book’s popularity increased, and it was introduced into neighboring countries, namely, Burma, Laos and Cambodia, where the stories were rewritten in the vernacular of each country. Careful comparison of these versions shows that the Cambodian version is closest to the Thai Pannasa Jataka, whereas the Laotian version contains numerous variation and is farthest removed from the Thai text. Most stories in Pannasa Jataka originate from the Pali and the Sanskrit literature, especially the Buddhist Jataka Commentary, which provides the general concepts governing the themes of these stories and the structure of the plots. In this connection, the researcher found that folktales, once believed to be the most important source of inspiration to the author of Pannasa Jataka, had little significance. Pannasa Jataka is one important source supplying themes to many Thai poetical works. A comprehensive study of these works, many of which are still unpublished, shows that Pannasa Jataka is the chief source of inspiration for as many as sixty three of these. The most popular story in Pannasa Jataka is Rathasena Jataka which has become the source of thirteen of these works. Among the Thai literary works which have been inspired by Pannasa Jataka, those written in the kham-kap style, a type of poetry commonly used for chanting, are the most effective in the public instruction in morality. Not only is Pannasa Jataka the primary inspiration to the authors of these sixty-three works, but it also serves as amodel for plot structure, techniques of presentation and didactic approaches.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73064
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1981.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1981.2
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niyada_sa_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ11.97 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch1.pdfบทที่ 115.09 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch2.pdfบทที่ 218.43 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch3.pdfบทที่ 325.97 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch4.pdfบทที่ 457.56 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch5.pdfบทที่ 520.21 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch6.pdfบทที่ 6154.43 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch7.pdfบทที่ 729.12 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_ch8.pdfบทที่ 84.41 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_sa_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก256.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.