Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73227
Title: แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Guidelines for science instructional management to promote ability in scientific explanation making of students in basic education level
Authors: คัทลียา สิงห์วี
Advisors: ยศวีร์ สายฟ้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Science -- Study and teaching
Basic education
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อสรุปองค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การคัดเลือกและวิเคราะห์ตัวแปรคุณลักษณะของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (3) ระยะการสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนทั้งสิ้น 11 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าขนาดอิทธิพลตามแนวคิดของ Glass ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพบว่าตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมด 22 ตัวแปรส่งผลต่อขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 10 รูปแบบที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลในระดับสูง 2. องค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ การจัดเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง พฤติกรรมของครูมีทั้งหมด 10 พฤติกรรม และพฤติกรรมของนักเรียนมีทั้งหมด 7 พฤติกรรม 3. แนวทางที่ได้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนควรอยู่ในรูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองมีค่าขนาดอิทธิพลต่อการส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงสุด เทคนิคที่ควรใช้คือเทคนิคการใช้คำถาม 2) สื่อการสอนควรใช้ของจริง ใบกิจกรรม และการจัดนิทรรศการ 3) การวัดและประเมินผลของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ต้องครอบคลุมทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ และการให้เหตุผล
Other Abstract: The research was aimed to (1) study the effect size of the research attributes on science instructional management to promote ability in scientific explanation making of students in basic education level (2) predicate on science instructional management to promote ability in scientific explanation making of students in basic education level by using meta-analysis (3) propose guidelines for science instructional management to promote ability in scientific explanation making of students in basic education. The research consists of three phases: (1) meta-analysis on related researches (2) select and analyze the research characteristics about instructional management and (3) synthesis the guidelines for science instructional management to promote ability in scientific explanation making of students in basic education level. The sample of the research is eleven research reports about science instructional management to promote ability in scientific explanation making of students in basic education level. The characteristics of research record and the quality of research assessment were used as the research tools. The data analysis included descriptive statistic, one-way ANOVA and the calculation of effect size by Glass method. The research findings were found that: 1. The analysis of using one-way ANOVA found none of the twenty-two research characteristics affecting the effect size at significant level. There are ten science instructions from the sample research reports that have high level of effect size. 2. Bases on meta-analysis, the science instruction using model is the most popular instruction. There are ten teacher’s behaviors and There are seven student’s behaviors. 3. The guidelines comprised 3 aspects: Aspect 1: Instructional activities should focus on process skill. In addition, Inquiry-based learning using model has the largest affected on ability in scientific explanation making of students in basic education level. A desirable teaching technique is questioning. Aspect 2: Using science media and resources should be hand-on learning resources, activity sheet and classroom’s exhibition. Aspect 3: Assessment and evaluation of a scientific explanation should cover 3 parts; claims, evidences and reasoning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73227
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1448
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1448
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_5883410427_Kattaleeya Si.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.