Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชญาพิมพ์ อุสาโห-
dc.contributor.authorชนิษฐา จำเนียรสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-05-05T05:06:59Z-
dc.date.available2021-05-05T05:06:59Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73264-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการและความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 222 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 111 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการ จำนวน 50 คน ครูประจำชั้น จำนวน 157 คน ผู้ปกครอง จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น 251 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 2 ชุด คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยฯ แบบมาตรประมาณค่า และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (x ̅ = 4.30, S.D. = 0.73) และมากที่สุด (x ̅ = 4.52, S.D. = 0.73) ตามลำดับ โดยด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.0581) รองลงมาคือ การประเมินพัฒนาการ (PNImodified = 0.0514) การจัดประสบการณ์ (PNImodified = 0.0491) และการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.0487) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา มีทั้งหมด 4 แนวทางหลัก และ 10 แนวทางย่อย โดยเรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1)พัฒนาหลักสูตรโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม มี 3 แนวทางย่อย คือ ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการประเมินหลักสูตร (2)พัฒนาการประเมินพัฒนาการผู้เรียนโดยเน้นด้านอารมณ์และสังคม มี 3 แนวทางย่อย คือ วางแผนการประเมินพัฒนาการผู้เรียนโดยเน้นด้านอารมณ์และสังคม นำผลการประเมินพัฒนาการไปใช้โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม และ เก็บข้อมูลและประเมินพัฒนาการผู้เรียนโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม (3)พัฒนาการจัดประสบการณ์โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม มี 2 แนวทางย่อย คือ และ จัดบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม และ จัดกิจกรรมประจำวันตามพัฒนาการผู้เรียนรายบุคคล โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม (4)พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้โดยเน้นด้านภาษาให้กับผู้เรียน มี 2 แนวทางย่อย คือ จัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา และ จัดทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้เชิงรุกภายนอกห้องเรียนen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was conducted with a descriptive style with the purposes 1) to study the present and the desirable states of academic management of private kindergarten schools in Bangkok based on primary school readiness concept and 2) to propose approaches for academic management development of private kindergarten schools in Bangkok based on primary school readiness concept. The population were 222 private kindergarten schools in Bangkok. The sample of this research were 143 private kindergarten schools in Bangkok. The informants were principals, teachers and parents of private kindergarten schools in Bangkok; 251 in total. The research instrument was rating scale questionnaires and rating scale appropriability and possibility of evaluation forms. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, PNI Modified, mode and content analysis. The results were as follows: the present and the desirable states in academic management of private kindergarten schools in Bangkok based on primary school readiness concept were at the high level (x ̅ = 4.30, S.D. = 0.73) and the highest level (x ̅ = 4.52, S.D. = 0.73) respectively. The first priority need index was the curriculum development (PNImodified = 0.0581); the second priority need index was developmental assessment and evaluation (PNImodified = 0.0514); the third priority need index was learning experiences(PNImodified = 0.0491); and the last first priority need index was the learning environment(PNImodified = 0.0487). There were four main approaches and ten sub-approaches of academic management of private kindergarten schools in Bangkok based on primary school readiness. The approach sort by priority needs index were the three curriculum development approach, the three developmental assessment and evaluation approach, the two learning experience approach, and the two learning environment approach.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.903-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษา-
dc.subjectโรงเรียนอนุบาล -- การบริหาร-
dc.subjectKindergarten -- Administration-
dc.titleแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeApproaches for academic management development of private kindergarten schools in Bangkok based on primary school readiness concepten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanyapim.U@Chula.ac.th,Chayapim.U@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.903-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_6083393027_Chanitta Ju.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.