Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73451
Title: ติดตามผลที่ผู้อยู่อาศัยได้รับจากบ้านประหยัดพลังงานในโครงการบ้านจัดสรร กรณีศึกษาโครงการเสนาปาร์ค วิลล์ และโครงการเสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา วงแหวน
Other Titles: Monitoring of resident renewable energy in village committee; Case Study Sena Park Ville and Sena Park Grand Ramintra – Wongwaen by Sena Development
Authors: มัลลิกา มงคลรังสฤษฎ์
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: kundoldibya.p@chula.ac.th
Atch.S@Chula.ac.th
Subjects: บ้านจัดสรร -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัย
บ้าน -- การอนุรักษ์พลังงาน
Home -- Energy conservation
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ขนาด 135-259 ตารางเมตร รวมถึงศึกษาลักษณะการใช้งาน และทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อรูปแบบบ้านประหยัดพลังงาน โดย วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการ และแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านประหยัดพลังงานที่เป็น กรณีศึกษาทั้ง 2 โครงการ ได้แก่ เสนาพาร์ควิลล์ และ เสนาพาร์คแกรนด์ จำนวน 90 ตัวอย่าง สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึก 10 ตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ การศึกษาแนวความคิดบ้านประหยัดพลังงาน ทั้งด้านสถาปัตยกรรมและด้านงานระบบที่ส่งผลให้เกิดการประหยัด พลังงานภายในบ้าน ค้นพบว่า บ้านประหยัดพลังงานมีช่องเปิดระบายอากาศ และ สัดส่วนอาคารต่อที่ดิน สูงกว่ามาตรฐานกำหนดไว้ อีกทั้ง ระบบ Solar cell ที่ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 700 - 4,100 ต่อเดือน ซึ่งจัดอยู่ในระดับค่าไฟฟ้าค่อนข้าง ไม่สูงมากหนักเมื่อเทียบกับบ้านขนาดเดียวกันในโครงการอื่นๆ อันนี้เป็นตัวแปรสำคัญต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ผลการสำรวจด้านครัวเรือน และการใช้งานพื้นที่พบว่าผู้อยู่อาศัยบ้านประหยัดพลังงานทั้ง 5 รูปแบบ ส่วนใหญ่มี สมาชิกในครัวเรือนจำนวน 4 คน มีรายได้ครัวเรือนประมาณ 100,000 ขึ้นไป ช่วงเช้า – ช่วงเย็น จะใช้งานส่วนพื้นที่ห้องรับแขกเป็น หลัก เฉลี่ยอยู่บ้านต่อวันเป็น 17 ชม. นอกจากนี้ผู้อยู่อาศัยทั้ง 5 รูปแบบ การใช้ระบบภายในบ้านที่คล้ายกัน คือ การใช้ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า และแผงโซลาเซลล์ ผลที่ได้รับจากบ้านประหยัดพลังงาน (ก่อนอยู่) ทั้งด้านสถาปัตยกรรม และ ด้านระบบของบ้านประหยัดพลังงาน อยู่ในระดับปานกลาง และ ความพึงพอใจต่อบ้านประหยัดพลังงาน(อยู่อาศัย) ทั้งด้าน สถาปัตยกรรม และด้านระบบของบ้านประหยัดพลังงานอยู่ ในระดับมากการปรับปรุงด้านสถาปัตยกรรม 3 อันดับแรก คือ ปรับปรุง รูปแบบบ้านให้มีระแนงกันแดดเข้าถึงตัวบ้าน รองลงมาคือ รูปแบบบ้านน่าจะเหมาะสมกับราคามากกว่านี้ และ อยากให้ใช้สีกับตัว บ้านมีความโดดเด่นมากกว่านี้ ผู้อยู่อาศัย ต้องการให้เพิ่มแบตเตอรี่เก็บไฟตอนกลางคืน ข้อเสนอแนะด้านอื่นๆ อยากให้ปลูกต้นไม้ที่ ให้ร่มเงา รองลงมาคือ ติดตั้ง Solar cell ส่วนกลาง และ อยากให้เพิ่มลู่จักรยานในโครงการ ผลการวิจัยจึงเสนอแนะให้ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณานำความต้องการของผู้อยู่อาศัยไปใช้ในการพัฒนาออกแบบ รูปแบบบ้านประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยบ้านประหยัดพลังงานให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
Other Abstract: This research aimed to study real estate developers’ design concepts for renewable energy houses (135-259 m²), their functions and utilization as well as the attitudes of residents towards five model homes. Three research tools were employed to obtain both quantitative and qualitative data. They include interviews with the developers, a questionnaire completed by 90 residents in two real estate projects, Sena Park Ville and Sena Park Grand, and interviews with 10 of them. Based on analyses of architecture and energy-saving benefits, the research found that the model homes are equipped with more ventilation and have higher floor area ratio (FAR) compared with the minimum standard required by law. In addition, the solar cell system allows the residents to decrease their monthly electricity bills to an average of 700-4,100 baht per home which is inexpensive compared with amounts paid by residents in non-renewable energy houses of similar sizes. Thus, house design is a crucial factor for energy saving. Study findings reveal information on residents’ lifestyles as follows. First, the majority of the residents’ families had four members on average, with a monthly income over 100,000 baht per household. Next, in the mornings and evenings, the most frequently used area was the living room while residents spent more than the average of 17 hours/day at home. Furthermore, they share a similar pattern of facilities use (airconditioners, electrical equipment and solar cells). Lastly, satisfaction levels with the architectural and energysaving system was very high, an increase from moderate levels prior to occupancy,energy-saving home design: it is recommended to use exterior shading materials to offer more shade and to use brighter colors at a fair purchase price, and solar cells with more battery capacity for nighttime operations. Other suggestions include planting shade trees, installation of solar cells in public areas, and provision of bicycle lanes in the community. As a result of these residents’ needs and opinions are valuable to improve energy-saving home design and promotion of better living in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73451
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.566
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.566
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ar_6073571725_Monlika.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.