Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74110
Title: ความมุ่งหวังของมารดาไทยเกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตร
Other Titles: Aspirations of Thai mothers toward their children's educational attainment
Authors: สากล เซียสกุล
Advisors: เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Penporn@Netserv.chula.ac.th
Subjects: มารดา -- ไทย
บุตร
Mothers -- Thailand
Children
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางเศรษฐกิจ-สังคมและ ลักษณะทางประชากรฃองมารดา กับความมุ่งหวังของมารดา เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตร โดยใช้ข้อมูลของโครงการสำรวจประชากรและการอนามัยในประเทศไทย พ.ศ. 2530 (TDHS) หน่วยตัวอย่างที่ศึกษา คือ สตรีที่สมรสแล้วอายุระหว่าง 15-49 ปี และมีบุตรที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ/หรือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ/หรือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 940 ราย ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อความมุ่งหวังของสตรี เกี่ยวกับระดับการศึกษา ของบุตร ได้แก่ ประเภทอาชีพของสตรี สถานภาพทางทรัพย์สินของครัวเรือน ระดับการศึกษาของสตรี เขตที่อยู่อาศัย การเปิดรับสื่อสารมวลชน และจำนวนบุตรที่มีชีวิต กล่าวคือ สตรีที่ประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมมีความมุ่งหวัง เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม สตรีที่อาศัยอยู่ไนครัวเรือนที่มีสถานภาพทางทรัพย์สินสูงมีความมุ่งหวัง เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่อาศัยอยูในครัวเรือนที่มีสถานภาพทางทรัพย์สินต่ำ สตรีที่มีการศึกษาระดับสูงมีความมุ่งหวัง เกี่ยวกับระดับ การศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่มีการศึกษาระดับต่ำ สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีความมุ่งหวังเกี่ยวกับระดับ การศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่อาศัยอยู่ไนเขตชนบท สตรีที่เปิดรับสื่อสารมวลชนเป็นประจำหลายชนิดมีความมุ่งหวัง เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่เปิดรับสื่อสารมวลชนน้อยชนิดหรือไม่ เปิดรับสื่อสารมวลชนเลย และสตรีที่มีบุตรมีชีวิตน้อยคนมีความมุ่งหวังเกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่มีบุตรมีชีวิตหลายคน สำหรับตัวแปรค่านิยมของสตรี เกี่ยวกับการศึกษา และลำดับที่ของบุตรนั้น พบว่า มีอิทธิพลต่อความ มุ่งหวังของสตรี เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรอย่างชัดเจน เฉพาะในกลุ่มสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนในชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น กล่าวคือ สตรีที่มีค่านิยม เกี่ยวกับการศึกษาระดับสูง มีความมุ่งหวังเกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรสูงกว่าสตรีที่มีค่านิยม เกี่ยวกับการศึกษาในระดับต่ำ และสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนเป็นบุตรคนกลางมักจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนจบในระดับที่ต่ำกว่าสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนเป็นบุตรคนโตและบุตรคนสุดท้อง ส่วนตัวแปรจำนวนบุตรที่เป็นภาระนั้น พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับความมุ่งหวังของสตรี เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่ง พบอย่างชัดเจนว่าสตรีที่มีบุตรที่เป็นภาระจำนวนน้อยมความมุ่งหวังเกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรที่สูงกว่า สตรีที่มีบุตรที่เป็นภาระจำนวนมาก แต่สำหรับตัวแปรอายุของสตรีและเพศของบุตรนั้นพบว่าไม่มีอิทธิพลต่อความมุ่งหวังของสตรี เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรแต่อย่างใด ข้อค้นพบอีกประการหนึ่งคือ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มักจะพบว่า ตัวแปรดังกล่าวมีอิทธิพลต่อความมุ่งหวังของสตรี เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรอย่างชัดเจนในกลุ่มสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนในชั้นประถมศึกษาที่ 6 แต่ไม่ปรากฏชัดเจนมากนักในกลุ่มสตรีที่มีบุตรกำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กล่าวคือ สตรีกลุ่มนี้ต่างก็มุ่งหวังให้บุตรเรียบจบในระดับสูง โดยสถานภาพทางเศรษฐกิจ-สังคม และลักษณะทางประชากรไม่มีอิทธิพลต่อความมุ่งหวังของสตรี เกี่ยวกับระดับการศึกษาของบุตรมากนัก
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate socio-economic and demographic factors affecting the aspirations of mothers toward their children's educational attainment. The data used in this investigation is from Thailand Demographic and Health Survey 1987 (TDHS). The sample for this study represents the married women aged 15-49 who have their children attend Prathom 6 and/or Matthayom 3 and/or Matthayom 6. There are 940 cases in total. From this study, it is found that the variables affecting the aspirations of mothers toward their children's education al attainment are mothers' occupation, household possessions, mother's educational level, residential areas, mass media exposure and a number of living children. In addition, mothers who are not agricultural workers, with high education, higher household possession status, living in urban, exposed to the mass media and having few children have showed higher aspiration s in the level of children's education. Besides, mother's values in education and a child 's birth -order are another variable that have confirmed the finding, particularly, in the group of mothers who have children attending Prathom 6. The finding shows that mothers have lower aspirations toward children in the middle birth -order than they do toward ones in the first and the last birth -orders. The number of dependent children seems to have negative relationship with mother's aspirations, especially in the group of mothers who have children attending Matthayom 3. However, neither the age of mothers nor the sex of children have any influence on mother's aspirations toward their children's education. When comparing the groups of mothers whose children are studying in Prathom 5, Matthayom 3 and Matthayom 6 together. The study reveals that mothers whose children are studying in Prathom 6, their aspirations toward the children's education are most influenced by those independent variables. However, the other two groups of mothers are not significantly affected. That is for the last two groups, they can afford to let their children have high education. So the socio-economic and demographic background have little influence on their aspirations.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74110
ISBN: 9745770566
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakol_si_front_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_ch1_p.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_ch2_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_ch3_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_ch4_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_ch5_p.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_ch6_p.pdf929.13 kBAdobe PDFView/Open
Sakol_si_back_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.