Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75139
Title: Hybrid cladding to enhance light intensity for plastic optical fiber
Other Titles: การสังเคราะห์ส่วนห่อหุ้มของเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นตัวนำสัญาณแสง
Authors: Supaporn Paiboon
Advisors: Rathanawan Magaraphan
Other author: Chulalongkorn University. The Petroleum and Petrochemical College
Advisor's Email: Rathanawan.K@Chula.ac.th
Subjects: Optical fibers
Plastic optical fibers
Polycarbonates
เส้นใยนำแสง
โพลิคาร์บอเนต
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Plastic optical fiber (POF) has been used extensively in short-distance data communications applications. POF consists of a plastic core and plastic cladding. Fluoropolymer, polysiloxane and PMMA are usually used as a cladding material. This work, poly (arylene sillyl etjer) s (PASE) are synthesized. Hydroxyl-terminated monomers, cross-linkable BHPFS and 4,4’-(hexafluoroiso-propylidene) diphenol (6F-BPA), were polymerized using diphenyldichlorosilane as a coupling agent. Poly(arylene silyl ether)s which have Mw=37,443 with Mn/Mw = 1.69 are achieved by using Et₃N and dimethylamino pyridine (DMAP) co-catalyst. The 10, 20 and 25wt% PASE/PMMA blend were use as claddings. PC core are coated with cladding materials and then both of them concurrently extruded through the co-extrusion die. The obtained fibers exhibit brittleness. The fibers diameters at free falling are in the range of 1.1-1.4 mm. Diameters of fibers at 1.179 draw ratio are in the range of 0.83-0.98 mm. The attenuation depends on cladding thickness and shape uniformity. The numerical aperture of all fibers is not difference that is about 0.8. The maximum operating temperature of fibers is higher than 100°C.
Other Abstract: เส้นใยนำแสงเป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่งที่สามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเส้นใยนำแสงที่ทำมาจากพลาสติกเพื่อใช้ในระบบการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น การสื่อสารในระยะทางสั้นๆ ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภายในอาคารและยานพาหนะหรืออาจใช้เพื่อการตกแต่งส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็แกน (core) และส่วนห่อหุ้ม (Cladding) พอลิคาร์บอเนตเป็นพลาสติกที่ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการทนทานต่อการใช้งานที่อุณหภูมิ แต่เนื่องจากเส้นใยแก้วที่ทำจากพลาสติกยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาสัญญาณที่ต่ำ งานวิจัยนี้จึงได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาส่วนห่อหุ้มให้มีค่าดัชนีหักเหแตกต่างจากพอลิคาร์บอเนตน้อยที่สุด เพื่อลดปริมาณการสูญเสียของสัญญาณแสง โดยการสังเคราะห์พอลิอัลริลลีนไซริลอีเทอร์ จากนั้นนำมาผสมกับพอลิเมทิลเมทาคลิเลตเพื่อใช้เป็นส่วนห่อหุ้มและทำการขึ้นรูปด้วย วิธีการอัดรีดแบบควบคู่ (co-extrusion) แล้วศึกษาสมบัติเชิงกลแลสมบัติทางแสงของเส้นใยแก้วนำแสง จากผลการทดลองพบว่าเส้นใยที่ได้มีความเปราะเส้นใยที่ไม่ได้ผ่านการดึงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในช่วง 1.1-1.4 มิลลิเมตร ส่วนเส้นใยที่ผ่านการดึงด้วยอัตราการดึงเท่ากับ 1.179 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในช่วง 0.83-0.98 มิลลิเมตร เส้นใยทั้งหมดมีค่าการลดทอนสัญญาณ (attenuation) แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคุณภาพในการขึ้นรูปของเส้นใย แต่ค่าความสามารถในการรับแสง (numerical aperture) มีความใกล้เคียงกันและเส้นใยที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 100 องศาเซลเซียส
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Polymer Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75139
Type: Thesis
Appears in Collections:Petro - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_pa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ906.15 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch1_p.pdfบทที่ 1682.97 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch2_p.pdfบทที่ 21.06 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch3_p.pdfบทที่ 31.15 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch4_p.pdfบทที่ 41.24 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch5_p.pdfบทที่ 51.85 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch6_p.pdfบทที่ 6931.59 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_ch7_p.pdfบทที่ 7627.45 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_pa_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.