Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75691
Title: | ผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี |
Other Titles: | The effect of personal growth group with cinema on self-esteem of undergraduates |
Authors: | ชิดชนก จินตนาวุฒิ |
Advisors: | ณัฐสุดา เต้พันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Subjects: | การยอมรับตนเองในวัยรุ่น ความนับถือตนเอง จิตวิทยาวัยรุ่น Self-esteem Self-acceptance in adolescence Adolescent psychology |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี อายุตั้งแต่ 18-23 ปี จำนวน 29 คน แบ่งเป็นกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อ 9 คน กลุ่มพัฒนาตนตามแนวทรอตเซอร์ 9 คน และกลุ่มชมภาพยนตร์ 11 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนโดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง รวม 5 ครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Ryden ในช่วงก่อนและหลังการวิจัย ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบผสม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองในช่วงหลังการเข้ากลุ่มสูงกว่าก่อนการเข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างของคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองภายหลังการเข้าร่วมกลุ่ม |
Other Abstract: | This quasi-experimental research study was aimed to examine the effects of personal growth group with cinema on self-esteem of undergraduates. Twenty-nine undergraduates were assigned into personal growth group with cinema (9 undergraduates) or personal growth group (9 undergraduates) or cinema group (11 undergraduates). Those in the experimental group participated in a weekly 3-hour personal growth group with cinema for 5 weeks, amounting to a total of 15-hour group participation. The measure of self-esteem was administered at pre- and post-study participation. Data obtained were analyzed using mixed-designed ANOVA. The result revealed that the posttest score of self-esteem in the experimental group was significantly higher than the pretest score (p < .05). The post-treatment scores of the experimental and control group were not significantly different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75691 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.674 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.674 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6077606838.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.