Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75739
Title: ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์
Other Titles: The effect of family intervention program on alcohol consumption in persons with alcohol dependence
Authors: สิรินันท์ หวังมุขกลาง
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
สุนิศา สุขตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ผู้ติดสุรา -- การรักษา
ผู้ติดสุรา -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
Alcoholics -- Treatment
Alcoholics -- Family relationships
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ ระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัว และ 2) พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดแอลกอฮอล์และสมาชิกในครอบครัว ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 50 ครอบครัว ได้รับการจับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วยอายุและระดับปัญหาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัว (Family Intervention Program) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัว 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบบันทึกพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ 4) แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว และ 5) แบบประเมินปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 มีความเที่ยงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยวิธีทดสอบซ้ำเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวและผู้ติดแอลกอฮอล์ที่ได้รับการดูแลตามปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่า การใช้โปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวสามารถช่วยให้พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ลดลงได้
Other Abstract: This study was the quasi experimental 2 group Pretest-Posttest research. The purpose were to compare 1) alcohol consumption in persons with alcohol dependence before and after receiving The Family Intervention Program, and 2) alcohol consumption in persons with alcohol dependence who received The Family Intervention Program and those who received usual care. The sample were 50 persons with alcohol dependence and his family member who admitted at inpatient care service in Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital. They were matched-pairs with age and scores of alcohol drinking problem then randomly assigned 25 subjects to either experimental or control group. The experimental group received The Family Intervention Program whereas the control groups received usual care. Research instruments comprised of: 1) Family Intervention Program 2) Demographic questionnaire 3) Timeline follow back (TLFB) 4) Family Relationship Scale and 5) Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT). All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 3rd instrument is reported with Pearson Product Moment Correlation as .94. Descriptive statistics and t-test were used in Data analysis. The findings of this research are as follows: 1. The alcohol consumption in persons with alcohol dependence who received The Family Intervention Program were significantly different than those before at p.05. 2. The alcohol consumption in persons with alcohol dependence who received The Family Intervention Program were significantly different from those who received usual care at p.05. The result of this study supported that The Family Intervention Program can be used to reduce alcohol consumptions in persons with alcohol dependence.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75739
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.909
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.909
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077314536.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.