Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76609
Title: | สเปรย์เคลือบผิวซิงค์ออกไซด์เพื่อกำจัดไวรัสและแบคทีเรียบนหน้ากากผ้า |
Other Titles: | Aerosolized zinc oxide coating antiviral and anti-bacteria for cloth mask |
Authors: | ธนิสร เกียรติพลพจน์ |
Advisors: | สนอง เอกสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โควิด-19 (โรค) -- การป้องกัน หน้ากากอนามัย -- การทำลายเชื้อ การทำลายเชื้อและสารทำลายเชื้อ สารฆ่าแบคทีเรีย ไวรัส -- การกำจัด COVID-19 (Disease) -- Prevention Hygienic face masks -- Disinfection Disinfection and disinfectants Bactericides Viruses -- Removal |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการค้นคว้าอิสระนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตสเปรย์จากเยื่อกระดาษฟอกขาวซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติที่นำมาละลายด้วยกรดซัลฟูริคความเข้มข้นร้อยละ 70 ที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อทำให้เกิดเป็นสารละลายเซลลูโลสอสัณฐานและนำสารซิงค์คลอไรด์มาตรึงกับเซลลูโลสอสัณฐาน ทำให้เกิดเป็นสารละลายเซลลูโลสอสัณฐานที่มีการตรึงซิงค์ไฮดรอกไซด์ เพื่อนำมาใช้พ่นสเปรย์บนผ้าเพื่อให้เกิดการเกาะติดกับเส้นใยผ้าตัวอย่าง 4 ชนิดที่นิยมนำมาทำหน้ากากที่ใช้ในการสวมใส่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และภายหลังการพ่นสเปรย์เคลือบผิวผ้าแล้วนำไปผ่านอุณหภูมิเพื่อให้เกิดการระเหยของน้ำ จะได้ซิงค์ออกไซด์ที่เกาะยึดอยู่บนเส้นใยของผ้าที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดไวรัสและแบคทีเรียที่จะมาเกาะยึดบนผิวผ้า ช่วยลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสและลดผลกระทบจากแบคทีเรียที่อยู่บนหน้ากากผ้าของผู้สวมใส่ได้ และจากการทำแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมสเปรย์เซลลูโลสอสัณฐานที่มีการตรึงซิงค์ไฮดรอกไซด์ จำนวน 300 ชุด พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมมากที่สุดคือ การสร้างความปลอดภัยและต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังพบปัจจัยลำดับรองลงมาคือเรื่องของความสะดวกในการพกพา , ความง่ายต่อการดูแลรักษา และการเอื้อต่อความสะดวกในการหายใจ โดยประชากรที่ทำแบบสอบถามกว่าร้อยละ 88.7 ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และมีผู้ที่ต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร้อยละ 2.7 |
Other Abstract: | This independent research project was developed to develop a spray production from bleached pulp, a natural fiber dissolved with 70% sulfuric acid at low temperatures. To form a solution of amorphous cellulose and fixate with zinc chloride with amorphous cellulose. Resulting in amorphous cellulose solution with zinc hydroxide fixation. To be sprayed onto the fabric to create adherence to the fabric fibers, four popular examples are used to make wearing masks to prevent the spread of COVID-19. And after spray coating the fabric surface and then pass it through the temperature to evaporate the water. The zinc oxide adheres to the fibers of the fabric, effective in eliminating viruses and bacteria that will bind on the fabric surface. This reduces the risk of viral exposure and reduces the impact of bacteria on the wearer's cloth masks. And from the survey of factors affecting the adoption of 300 units of zinc hydroxide-fixed amorphous cellulose spray innovation, it was found that the factors affecting the adoption of the innovation the most were: To establish security and be effective in preventing the COVID-19 virus. In addition, the second factor was found in portability, ease of maintenance. And facilitating the ease of breathing. More than 88.7 percent of the population surveyed were interested in the product. And 2.7 percent of those who wish to request additional information about the product |
Description: | สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76609 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.311 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.311 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Grad - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280122120.pdf | 6.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.