Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76620
Title: การศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของการขายผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ผ่านกระบวนการไมโครเอนแคปซูเลชันแก่โรงงานรับจ้างผลิตอาหารเสริม
Other Titles: Commercial feasibility study of selling microencapsulation probiotic product to food supplement ODM manufacturing
Authors: อลิสา กนกโชติวรการ
Advisors: กวิน อัศวานันท์
ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โพรไบโอติก
ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์
Probiotics
Microbial products
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของการขายผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ผ่านกระบวนการไมโครเอนแคปซูเลชันแก่โรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากค่านิยมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพส่งผลให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาจำนวนมาก ส่งผลให้โรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลายเป็นช่องทางที่น่าสนใจในการส่งมอบเทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชันที่ช่วยรักษาจำนวนจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้เหลือรอดจากกระบวนการผลิต จนกระทั่งผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้นนี้เข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์โรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบ ODM จำนวน 4 โรงงานและเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทโพรไบโอติกจำนวน 3 บริษัท ผลการศึกษาพบว่าโรงงานในประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการผลิตเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารเอง จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบประเภทโพรไบโอติกจากต่างประเทศ จึงควรส่งต่อเทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชันให้กับบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบในต่างประเทศแทน
Other Abstract: There are many manufacturers producing a wide range of food supplement brands in the market. Hence, these companies can potentially serve as a channel for pioneering a new product introduction in the market. In our study, we focus on the microencapsulation-technique research in which the technique can protect probiotics while delivering them to the targeted destination, human’s colon. The study is conducted in the qualitative manner with the semi-structure interview method. There are a total of seven companies which are leading manufacturers and brand owners of probiotics products in Thailand. The result shows that Thailand is not ready to produce probiotic for the food industry yet because probiotics manufacturing requires high investment and bureaucratic registration process with the Thai government. As a result, there is no commercial probiotics manufacturing for food industry in Thailand and this kind of raw material must be imported. We propose that the target customer for this microencapsulation-technique research shall be suppliers outside of Thailand.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76620
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.297
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280138220.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.