Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76646
Title: | อนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล |
Other Titles: | The scenario of science camp model towards lifelong learning in digital age |
Authors: | วสุ ทัพพะรังสี |
Advisors: | สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล บัญชา แสนทวี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอนาคตใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด รูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนาอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล และ3) เพื่อนำเสนออนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล ด้วยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 27 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และสรุปแนวโน้มอนาคตรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุดดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด รูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล แสดงให้เห็นว่า หลักการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบ ขับเคลื่อนให้บุคคลและสังคมพัฒนาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เตรียมความพร้อมของประชากรในการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล แนวคิดที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดำเนินงานเป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบหลากหลายและผสมผสานทั้งการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมี 6 องค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหาร รูปแบบการบริการความรู้ หลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์และการบริหารหลักสูตร การรับรองคุณภาพ และองค์กอบด้านสุดท้าย คือ เครือข่าย ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดเนื้อหาย่อยสำหรับการนำไปปฏิบัติจริงตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ 3) ผลการนำเสนออนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล พบว่า แนวโน้มอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล มีทั้งหมด 4 แนวโน้ม ได้แก่ 1)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 1: ดิจิทัลไม่พร้อม - คนไม่พร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ที่ขาดความพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการขาดความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน 2) ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 2: ดิจิทัลไม่พร้อม – คนพร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ที่ขาดความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ผู้สอนและผู้เรียนมีความพร้อม 3)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 3: ดิจิทัลพร้อม – คนไม่พร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์มีความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ผู้สอนและผู้เรียนขาดความพร้อม และ 4)ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตรูปแบบที่ 4: ดิจิทัลพร้อม - คนพร้อม เป็นรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์มีความพร้อมทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดค่ายวิทยาศาสตร์สามารถนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของบริบทที่แตกต่างกันและให้สอดคล้องกับแนวโน้มอนาคตภาพรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงานในยุคดิจิทัลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง |
Other Abstract: | The future research approach is applied from Ethnographic Delphi Future Research (EDFR). The aims are to 1) analyze and synthesize principle and concept of science camp model towards lifelong learning in digital age 2) develop the scenario of science camp model towards lifelong learning in digital age and 3) present the scenario of science camp model towards lifelong learning in digital age. The research was conducted through the related documentaries and the exploration of 27 experts’ perspectives. In-depth interview, focus group, and probable trends of the scenario of science camp model towards lifelong learning in digital age were used as methodologies. The research findings are as follows: 1. The analysis and synthesis of principles and concepts of science camp model towards lifelong learning in digital age have shown that the related principles enhancing science learning, non – formal education, impelling people and social to lifelong learning, and preparing citizen for life in digital age. The concepts associated with organizing science camp model towards lifelong learning in digital age consist of varieties of learning management that support learning for scientific process skill, digital technology skill including lifelong learning. 2. The scenario of science camp model towards lifelong learning in digital age consist of six main elements, e.g., Strategic Management, Management Structure, Knowledge Service Pattern, Science Camp Curriculum and Curriculum Management, Quality Accreditation, and Network. 3. The trend of the scenario of science camp model towards lifelong learning in digital age comprise four science camp options, such as, option 1) Unavailable Digital – Inability Users: science camp model that lacks accessibility by neither digital technology nor teacher and learner, option 2) Unavailable Digital - Readiness Users: science camp model that lacks accessibility to digital technology despite the readiness of teacher and learner, option 3) Available Digital – Inability Users: science camp that lacks accessibility by teacher and learner despite convenient digital technology, and option 4) Available Digital – Readiness Users: science camp model having both digital technology and teacher and learners. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76646 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.640 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.640 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884485727.pdf | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.