Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76648
Title: การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน
Other Titles: Development of integrated art activity betweenvisual art and street performing artsto enhance aesthetic perceptions in working-age group
Authors: สมพงษ์ เลิศวิมลเกษม
Advisors: อภิชาติ พลประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเกิดสุนทรียภาพจากกิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทที่มีผลต่อการรับรู้ทางสุนทรียะ กลุ่มตัวอย่างสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนากิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มคนวัยทำงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงและ นักแสดงมืออาชีพ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์ระดับพัฒนาการสุนทรียภาพ และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มตัวอย่างคนวัยทำงานขณะร่วมกิจกรรมศิลปะบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีท ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการเกิดสุนทรียภาพจากกิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมสุนทรียภาพสำหรับคนวัยทำงาน มีวิธีการสร้าง และลักษณะการเกิดสุนทรียภาพที่คล้ายคลึงกัน โดยมีองค์ประกอบหลักคือ เส้น สี รูปร่าง ช่องว่าง การทำซ้ำ ความกลมกลืน การตัดกัน การใช้ลวดลาย 2) การพัฒนากิจกรรมศิลปะบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพ มี 4 องค์ประกอบหลัก 1) เนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจเช่น เนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่ายหรือใกล้กับชีวิตประจำวัน เรื่องตลกขบขัน 2) รูปแบบการแสดง ที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยการสร้างภาพเชิงทัศน์บูรณาการผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายของศิลปะการแสดงแบบสตรีท 3) การแต่งกาย ที่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) การออกแบบการเกิดสุนทรียภาพ 5 ระดับ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 15 นาที นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ยืดหยุ่นสามารถจัดได้ในสถานที่ปิด เช่นในห้อง หรืออาคาร และสถานที่เปิดเช่น บนถนน หรือในสวนสาธารณะ
Other Abstract: The objectives of this development research were to 1) study of how aesthetic perception enhancements triggered from integrated art activity between visual art and street performing arts 2) develop integrated art activity between visual art and street performing arts to enhance aesthetic perceptions. The sample groups for research purpose for developing the art activity consist of working-age group, specialists of visual arts, specialists of performing arts and professional performers. The research instruments consist of semi-structured interview, evaluation form of aesthetic enhancement, observation record form of sample group while participating in the integrated art activity between visual art and street performing arts. The data were analyzed by qualitative analysis using analytic induction and content analysis. The results of research found that integration of visual art and street performing arts which share similarities in creative process and aesthetic elements consist of 8 main components line, color, shape, space, repetition, harmony, contrast, and pattern. Aesthetic perception enhancement from integrated art activity consist of 4 main components 1) content of the activity that draws attention, easy to understand or close to everyday life such as news, politic, basic needs, and comedy 2) form of performance which specifically design to create visualization integrated with movement of street performing arts 3) costume 4) designing 5 levels of aesthetic perception enhancement. The activity takes 15 minutes long. Besides the activity is flexible, could be held in closed area such as in the building or open area such as on the street, in the park.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76648
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1210
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1210
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983363727.pdf12.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.