Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76653
Title: การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Development of activity package based on character education of Lickonato enhance cyberbullying management abilities of sixth grade students
Authors: สุรดิษ สุวรรณลา
Advisors: สมพงษ์ จิตระดับ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง แบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบการทดลองเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนาฯ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมฯ พบว่า นักเรียนที่ได้เข้าร่วมการจัดกิจกรรมฯ มีความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ ได้แก่ 1) ด้านการจัดการกับตัวเอง 2) ด้านการจัดการกับผู้กระทำ 3) ด้านการจัดการกับเทคโนโลยี และ 4) ด้านการจัดการโดยการปรึกษาผู้อื่น 
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of using an activity package based on character education of Lickona to enhance cyberbullying management abilities of sixth grade students between post-test and pre-test. The research design was pre-experimental design. The sample group was 25 students studying in sixth grade at one primary school under the Office of the Basic Education Commission were selected through a purposive sampling method. The instruments of research included 1) an activity package based on character education of Lickona, and 2) the cyberbullying management abilities test for sixth grade students. The statistic used in this research were content analysis, mean, standard deviation, and t-test. The results of this research were as follows: The effects of using activity package revealed that students who participated in the activity package had higher post-testing cyberbullying management abilities than pre-testing with a statistical significance level of .05 and had cyberbullying management abilities included 1) Self-management, 2) Reaction with other management, 3) Using technology management, and 4) Counseling with other management
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76653
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1285
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1285
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983901327.pdf16.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.