Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐภรณ์ หลาวทอง-
dc.contributor.authorวรพิชชา เวชวิริยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:55:09Z-
dc.date.available2021-09-21T06:55:09Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76673-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ในบริบทผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนที่สร้างขึ้นภายหลังจากการศึกษาองค์ประกอบ 2) เพื่อวิเคราะห์กลุ่มโปรไฟล์ของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนกับคะแนนความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน เก็บข้อมูลกับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ผ่านแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลักษณะเป็นแบบประเมินตนเองแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน โดยวิเคราะห์ค่าดัชนี IOC วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน ตรวจสอบค่าความเที่ยง ค่าดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ และตรวจสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ 2) วิเคราะห์โปรไฟล์แฝง และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ด้านกฎระเบียบของโรงเรียน และด้านพฤติกรรมการเรียน โมเดลการวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวิเคราะห์องค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 42.29; df = 29; p-value = .053; RMSEA = 0.017) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรง ความเที่ยง และอำนาจจำแนก 2) โมเดลที่แบ่งกลุ่มโปรไฟล์ผู้เรียนเป็นจำนวน 5 กลุ่ม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สุด (LL = -6360.634, BIC = -12927.260) และ 3) เกรดเฉลี่ยของผู้เรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง กับคะแนนความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนในภาพรวม (r = .804) และทุกองค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน (r = .707 - .771)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to analyze the factor of student engagement of lower secondary school students in Bangkok and to examine the quality of the student engagement scale after analyzing the factor 2) to analyze the profile group of lower secondary school students according to the level of student engagement and 3) to analyze the correlation between GPA and student engagement score. The data were collected with lower secondary school students in Bangkok via student engagement scale, a 4-point self-report rating scale. The data were analysis by using IOC, EFA, CFA, reliability, item discrimination and analyze by using IRT 2) latent profile analysis and 3) Pearson's correlation coefficient analysis. The research finding was showed that 1) Student engagement consisted of 4 factors include relationship with family, relationship with friends, school compliance and behavioral engagement in learning. Measurement model that created after EFA was fit (X2 = 42.29; df = 29; p-value = .053; RMSEA = 0.017). The quality of the scale showed that met requirement of criteria of validity, reliability, and discrimination. 2) The student engagement model that consisted of 5 profile groups was the most fit (LL = -6360.634, BIC = -12927.260). and 3) The GPA was a high positively correlated at statistically significant level of .01 with the student engagement total score (r = .804) and all factors of student engagement (r = .707 - .771).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.610-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectพฤติกรรมการเรียน-
dc.subjectนักเรียน -- จิตวิทยา-
dc.subjectนักเรียน -- การประเมินศักยภาพตนเอง-
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectLearning behavior-
dc.subjectStudents -- Psychology-
dc.subjectStudents -- Self-rating of-
dc.subjectJunior high school students -- Thailand -- Bangkok-
dc.subject.classificationPsychology-
dc.subject.classificationPsychology-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพัน ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeFactor and latent profile analyses of student engagement of lower secondary school students in Bangkok-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.610-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083347127.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.