Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76675
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสกลรัชต์ แก้วดี-
dc.contributor.authorศักรินทร์ อะจิมา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:55:10Z-
dc.date.available2021-09-21T06:55:10Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76675-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) ศึกษากระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสร้างแบบจำลองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 34 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนสาธิตสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รูปแบบวิจัยเป็นแบบเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน รวม 23 คาบ และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 1 คือ  แบบวัดความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตอนที่ 2 คือ แบบสังเกตกระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ (%) การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนรวมทุกองค์ประกอบสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการสร้างข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้างมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คิดเป็นร้อยละ 44.00 และความสามารถในการสร้างข้อโต้แย้งที่แตกต่างออกไปมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนน้อยที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 คิดเป็นร้อยละ 28.15 เมื่อพิจารณาตามระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนร้อยละ 58.82 มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ขณะที่นักเรียนร้อยละ 44.12 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ 2) นักเรียนมีรูปแบบกระบวนการโต้แย้งผ่านการสร้างแบบจำลองที่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was 1) to compare the level of student’s scientific argumentation skills before and after learning through model-based teaching 2) to study the process of scientific arguments through scientific modeling activity. The study group was grade-11 students during the first semester who were attending the Science-Mathematics programme for academic year 2020 in a demonstration school under the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. The study group was obtained from cluster sampling. The experiment tool consisted of four lesson plan based on a model-based teaching. The data collection tools were divided into two parts, Part 1 collected data by The scientific argumentation ability test and the semi-structured interviews. Part 2 collected data by observation form. The quantitative data were analyzed by mean, standard deviation and percentage, dependent t-test, as well as the qualitative data were analyzed by content analysis. The finding showed that 1) the mean score of student’s scientific argumentation ability in post-test higher than pre-test was a statistically significant difference at .05 level . Their claim and warrant the highest score on post-test. The average score was 4.00, which was 44.00%, and the ability to make counter argument had the lowest point average of 2.53, which was 28.15 %. According to students' level of scientific argumentation ability, it was found that 58.82% of students have developed a higher level of scientific argumentation, while 44.12% of the students had a steady improvement in their ability to scientific argument 2) The process of arguing through student modeling is different.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.651-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย-
dc.subjectBiology -- Study and teaching (Secondary)-
dc.subjectScience -- Study and teaching (Secondary)-
dc.subjectHigh school students-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย-
dc.title.alternativeEffect of model-based teaching in biology on scientific argumentation ability of high school students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.651-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083356827.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.