Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76705
Title: | ผลการใช้โปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Effects of emotion regulation development program on problematic social media use behaviors of tenth grade students |
Authors: | ปิยากร อ่อนละออ |
Advisors: | ชุติมา สุรเศรษฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | การศึกษาขั้นมัธยม -- โปรแกรมกิจกรรม การปรับพฤติกรรม สื่อสังคมออนไลน์ อารมณ์ Education, Secondary -- Activity programs Behavior modification Social media Emotions |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์ต่อพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหา มีตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 21 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์และแบบวัดพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหา มีการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง ได้แก่ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) และการทดสอบที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์มีคะแนนพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาไม่แตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์มีคะแนนพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เป็นปัญหาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการกำกับอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This research aimed to investigate the effect of the emotion regulation development program on problematic social media use behaviors. The samples were 41 tenth grade students studying in the first semester of academic year 2020. There were 21 students for experimental group and 20 students for control group. The research instruments consisted of the emotion regulation development program and problematic social media use behaviors questionnaire. The data collection included of pretest, posttest and follow up test. The data was analyzed employing mean, standard deviation, one-way repeated measures ANOVA and independent t-test. The results were summarized as follows: 1) Posttest and follow up scores of problematic social media use behaviors questionnaire of the experimental group were not significantly different from the pretest score at level of significance. 2) Posttest and follow up scores of problematic social media use behaviors questionnaire of the experimental group were not significantly different from those of control group at level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76705 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.681 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.681 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183351727.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.