Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76730
Title: การพัฒนาและตรวจสอบแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง
Other Titles: Development and validation of bullying behaviors scale for upper secondary school students : an application ofitem response theory and latent class analysis
Authors: วันชนก วงศ์เขียว
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การประเมินพฤติกรรม
การกลั่นแกล้ง
ความซึมเศร้าในวัยรุ่น
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
การวิเคราะห์กลุ่มแฝง
Behavioral assessment
Bullying
Depression in adolescence
Item response theory
Latent structure analysis
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) วิเคราะห์กลุ่มแฝงของการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับกำหนดจุดตัดของคุณลักษณะพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก โดยทดสอบกับตัวอย่างจำนวน 834 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (two-stage random sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก 1.1 แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 4 ตอน ทั้งหมด 113 ข้อ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น และทัศนคติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 23 ข้อ ตอนที่ 2 พฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ ตอนที่ 3 พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกที่พบเห็น ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้พบเห็นการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ และ ตอนที่ 4 พฤติกรรมที่กระทำการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้กระทำการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ  1.2 แบบวัดฉบับนี้ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง .080 ถึง .977, (b) ระหว่าง -10.500 ถึง 6.068 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง.017 ถึง .700, (a) ระหว่าง 1.036 ถึง 8.811 มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระหว่าง .4 ถึง 1 ผลการพิจารณา ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้กลั่นแกล้งรังแก กับ แบบประเมินพฤติกรรมความก้าวร้าว และ แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก มีค่าเท่ากับ .353 และ .561 ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ .01 แสดงว่าแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้กลั่นแกล้งรังแก มีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในมีค่าระหว่าง .630 ถึง .989 และผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ประกอบด้วย 19 องค์ประกอบ คือ ทัศนคติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก พฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งรังแก พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกที่พบเห็น และ พฤติกรรมที่กระทำการกลั่นแกล้งรังแก โดยแต่ละพฤติกรรมจำแนกออกเป็น ประเภทการกลั่นแกล้งรังแก : บนอินเทอร์เน็ต การล่วงละเมิดทางเพศ  การกลั่นแกล้งรังแกเกี่ยวกับวัตถุ ด้านร่างกาย ด้านคำพูด และด้านสังคมหรืออารมณ์ (Social or Emotional Bullying)  พบว่าตัวแปรที่วัดแต่ละตัวเป็นเอกมิติ และเมื่อพิจารณาร้อยละของความแปรปรวนขององค์ประกอบ พบว่าค่าอยู่ระหว่าง 45.862 ถึง 82.528 2. ผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงของการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับกำหนดจุดตัดของคุณลักษณะพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ทั้งสิ้น 13 กลุ่ม โดยจำแนกออกเป็น กลุ่มผู้ตอบที่มีทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแฝง 1 คือ กลุ่มผู้รู้สึกเฉย ๆ กับการกลั่นแกล้งรังแก (1.44 %) กลุ่มแฝง 2 คือ กลุ่มผู้ไม่ชอบคนกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น (46.64 %) กลุ่มแฝง 3 คือ กลุ่มผู้เห็นว่าการกลั่นแกล้งรังแกนั้นสมควรแล้วกับคนบางคน (51.92 %)  ซึ่งมีจุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 1 กับ กลุ่มแฝง 2 เท่ากับ 2.000 และจุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 2 กับ กลุ่มแฝง 3 เท่ากับ -0.149  กลุ่มผู้ตอบที่มีพฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มแฝง 1 คือ กลุ่มผู้ถูกกระทำในระดับต่ำโดยไม่สามารถระบุได้ว่าประเภทที่ถูกกระทำเป็นลักษณะใดอย่างเด่นชัด (27.638 %) กลุ่มแฝง 2 คือ กลุ่มผู้ถูกกระทำการกลั่นแกล้งรังแกด้านคำพูด (Verbal Bullying), การล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Bullying) และการกลั่นแกล้งรังแกเกี่ยวกับวัตถุ (Material Bullying) (28.643 %) กลุ่มแฝง 3  คือ กลุ่มผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแกบนอินเทอร์เน็ต (Cyber Bullying), ด้านคำพูด (Verbal Bullying) และ ด้านสังคมหรืออารมณ์ (Social or Emotional Bullying) (20.603 %) กลุ่มแฝง 4  คือ กลุ่มผู้ถูกกระทำทุกรูปแบบ (23.116 %) ซึ่งมีจุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 1 กับ กลุ่มแฝง 2 เท่ากับ 0.200  จุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 2 กับ กลุ่มแฝง 3 เท่ากับ 0.520 และ จุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 3 กับ กลุ่มแฝง 4 เท่ากับ 0.920 กลุ่มผู้ตอบที่มีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกที่พบเห็น ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้พบเห็นการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 3  กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแฝง 1 คือ กลุ่มผู้พบเหตุการณ์การกลั่นแกล้งรังแกในระดับต่ำโดยไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการกระทำใดอย่างเด่นชัด (32.907%) กลุ่มแฝง 2 คือ กลุ่มผู้พบเหตุการณ์การกลั่นแกล้งรังแกด้วยวิธีบนอินเทอร์เน็ต (Cyber Bullying)  ด้านคำพูด (Verbal Bullying) และ ด้านสังคมหรืออารมณ์ (Social or Emotional Bullying) (37.701 %) กลุ่มแฝง 3 คือ กลุ่มผู้พบเจอเหตุการณ์การกลั่นแกล้งรังแกในทุก ๆ รูปแบบ (29.393 %) ซึ่งมีจุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 1 กับ กลุ่มแฝง 2 เท่ากับ 0.190 และ จุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 2 กับ กลุ่มแฝง 3 เท่ากับ 0.875  กลุ่มผู้ตอบที่มีพฤติกรรมที่กระทำการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้กระทำการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแฝง 1 คือ กลุ่มผู้กระทำในระดับต่ำโดยไม่สามารถระบุได้ว่ากระทำใดอย่างเด่นชัด และกลุ่มนี้จะไม่กระทำการด้วยวิธีการข่มขู่ผู้อื่น หรือการพูดถึงเรื่องที่น่ารังเกียจของผู้อื่น  (49.345 %) กลุ่มแฝง 2 คือ กลุ่มที่กระทำการกลั่นแกล้งรังแกด้วยลักษณะ ด้านคำพูด (Verbal Bullying) และด้านสังคมหรืออารมณ์ (Social or Emotional Bullying) (41.485 %) กลุ่มแฝง 3 คือ กลุ่มผู้กระทำการกลั่นแกล้งรังแกด้วยทุกรูปแบบการกลั่นแกล้งรังแก (9.170 %) ซึ่งมีจุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 1 กับ กลุ่มแฝง 2 เท่ากับ 0.325 และจุดตัดระหว่าง กลุ่มแฝง 2 กับ กลุ่มแฝง 3 เท่ากับ 1.850
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) develop and validate Bullying Behaviors Scale for Upper Secondary School Students. 2) conduct latent class analysis of upper secondary school students’ bullying for setting cutscores of bullying behavior traits. The samples were 834 students chosen by two-stage random sampling. The results were as follows. 1. Development and validation of Bullying Behaviors Scale for Upper Secondary School Students. 1.1 Bullying Behaviors Scale for Upper Secondary School Students contained 113 items, divided into 4 parts: 1) General information and attitudes towards bullying - 23 items 2) , Behaviors towards bullying as a bullied person - 30 items 3) , Behaviors  towards bullying as a bullying observer - 30 items and 4) Behaviors towards bullying as a bully person - 30 items.1.2 The difficulty of the scale (p) was between .080 - .977, (b) between -10.500 – 6.068. The discrimination (r) was between .017 - .700, (a) between1.036 – 8.811. The content validity index derived from the item objective congruence (IOC) of the experts was between .4-1. The correlations of bullying behaviors scale as a bully person and the aggression scale and the correlation of bullying behaviors scale as a bully person and bullying behaviors scale as a bullied person were .353 and .561 respectively at the significant level of .05 and .01. It showed that the bullying behaviors scale as a bully person had a criterion-related validity. The internal consistency reliability coefficient was between .630 - .989. and Exploratory Factor Analysis was used to identify the construct validity: the bullying scale consisted 19 factors : attitudes towards bullying, behavior towards bullying as a bullied person, behaviors  towards bullying as a bullying observer and behaviors towards bullying as a bully person. Each behavior was classified into Cyber Bullying, Sexual Bullying, Material Bullying, Physical Bullying, Verbal Bullying and Social or Emotional Bullying. One factor and the percentage variance was between 45.862 - 82.528. 2. The latent class analysis found that the respondents can be categorized into 13 groups: People who had attitudes about bullying behavior (3 class): class 1 People who felt indifferent to the bullying (1.44 %), class 2 People who did not like bullying  (46.64 %) and class 3 People who thought that bullying is appropriate for someone (51.92 %). The cutscores for class 1 and class 2 were 2.000 and the cutscores for class 2 and class 3 were -0.149.Bullied people (4 class): class 1 Bullied people who used to abused bullying in low level which the behaviors of bullying could not be indicated (27.638 %), class 2 Bullied people have been abused by verbal, sexual and material bullying (28.643 %), class 3 Bullied people have been abused by cyber, verbal, social and emotional bullying (20.603%) and class 4 Bullied people have been abused by all behaviors of bullying (23.116%).The cutscores for class 1 and class 2 were 0.200, The cutscores for class 2 and class 3 were 0.520  and the cutscores for class 3 and class 4 were 0.926. Bullying observers (3 class): class 1 Bullying observers who used to observed bullying in low level which the behaviors of bullying could not be indicated  (32.907%), class 2 Bullying observers who used to observed cyber, verbal and social or emotional bullying  (37.701 %) and class 3 Bullying observers who observed all forms of bullying (29.393 %). The cutscores for class  1  and class 2 were 0.190  and the cutscores for class 2 and class 3 were 0.875. Bully people (3 class): class 1 Bully people who used to commit in low level which the behaviors of bullying could not be indicated. And they would not act by means of intimidating others. Or speaking of other people's offensive matters (49.345 %), class 2 Bully people who used to commit verbal, social and emotional bullying (41.485%) and Bully people who used to commit all behaviors of bullying (9.170%) The cutscores for class  1  and class 2 were 0.325  and the cutscores for class 2 and class 3 were 1.850.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76730
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.609
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.609
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183887827.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.