Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76748
Title: ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้านร่วมกับฟิตเนสบอร์ดเกมที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Effects of exercise program using bodyweight program and fitness boardgame on physical fitness of upper elementary school students
Authors: เจตนิพัทธ์ ปิ่นแก้ว
Advisors: สุธนะ ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: พลศึกษา -- โปรแกรมกิจกรรม
การออกกำลังกายสำหรับเด็ก
สมรรถภาพทางกาย
Physical education and training -- Activity programs
Exercise for children
Physical fitness
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้านร่วมกับฟิตเนสบอร์ดเกมที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง  2) เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้านร่วมกับฟิตเนสบอร์ดเกมที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6  จำนวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 คน ด้วยวิธีการจับคู่ (Matching Group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้านร่วมกับฟิตเนสบอร์ดเกม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.69    2) แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับประถมศึกษา อายุ 7-12 ปี ของ กรมพลศึกษา 2562 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1   วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิตของกลุ่มทดลองก่อนทดลองและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านองค์ประกอบของร่างกาย (ดัชนีมวลกาย) ไม่แตกต่างกัน   2) ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังการทดลองของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านองค์ประกอบของร่างกาย (ดัชนีมวลกาย) กับ ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิตไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to 1) compare the different results before and after the experiment of the experimental group 2) compare the different results after experiment  between the experiment group and control group.    The sample of this study were 36 students of fourth-sixth grader. The experiment each group 18 students. They were divide into two groups; using Matching Group technique. The research tools were exercise program using bodyweight program and fitness boardgame the validity of the instruments was using IOC method (IOC=.64). and the assessment from physical fitness test the validity of the instruments was using IOC method (IOC=1). The analysis of this qualitative data was shown in mean, standard deviation, and t-test for compassion. 1) The average score of the  physical fitness test  the muscle strength and cardiovascular endurance after the experiment of the experiment group is significantly of statics at level .05   The  body composition no significantly. 2) The average score of the  physical fitness test  muscle strength after the experiment between the experiment group and control group is significantly higher in terms of statics at level .05   and The average score of the body composition and the cardiovascular endurance no significantly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76748
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1276
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1276
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280031627.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.