Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76767
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเครือข่ายอัสสาลาม ตามแนวคิดคุณลักษณะมุสลิมที่ดี
Other Titles: Proposed guildlines for developing assalam network school management based on the concept of good Muslim characteristics
Authors: มูฮำหมัด อัซซอมาดีย์
Advisors: เพ็ญวรา ชูประวัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเครือข่ายอัสสาลามและกรอบแนวคิดคุณลักษณะมุสลิมที่ดี 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเครือข่ายอัสสาลามตามแนวคิดคุณลักษณะมุสลิมที่ดี 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเครือข่ายอัสสาลามตามแนวคิดคุณลักษณะมุสลิมที่ดี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเครือข่ายอัสสาลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 37 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหรือครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการฝ่ายบุคลากรหรือครูหัวหน้าฝ่ายบุคลากร ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาสามัญ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาศาสนา และตัวแทนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งสิ้น 259 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการวิจัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย การบริหารบุคลากรและการบริหารวิชาการ การบริหารบุคลากรประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรในระหว่างปฏิบัติงานและการพัฒนาบุคลากรนอกเวลาปฏิบัติงาน การบริหารวิชาการประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการนิเทศการศึกษา กรอบแนวคิดคุณลักษณะมุสลิมที่ดีประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ คือ มีความศรัทธาที่เที่ยงแท้และบริสุทธิ์ ปฏิบัติศาสนกิจถูกต้องตามแบบอย่าง มีมารยาทที่ดีและงดงาม ใฝ่เรียนรู้และสติปัญญาล้ำเลิศ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถประกอบอาชีพการงานที่ดี สร้างประโยชน์แก่ผู้อื่น เอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง รู้คุณค่าและเก่งบริหารเวลา และรักษาระเบียบวินัย 2) ความต้องการจำเป็นพบว่า การพัฒนาบุคลากร ในส่วนของการพัฒนาบุคลากรนอกเวลาการปฏิบัติงาน มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด การบริหารวิชาการ ในส่วนของการวัดและประเมินผล มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด และเมื่อพิจารณาด้านคุณลักษณะมุสลิมที่ดี พบว่า การรู้คุณค่าและเก่งบริหารเวลา มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเครือข่ายอัสสาลามตามแนวคิดคุณลักษณะมุสลิมที่ดี ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก ดังนี้ ด้านการพัฒนาบุคลากร 1) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรนอกเวลาการปฏิบัติงาน ด้วยการให้บุคลากรเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษาดูงาน และกลุ่มศึกษา (ฮาลากอฮฺ) เพื่อพัฒนาบุคลากรให้รู้คุณค่าและเก่งบริหารเวลา ใฝ่เรียนรู้และสติปัญญาล้ำเลิศ และมีระเบียบวินัย 2) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยการมอบหมายงานพิเศษ และการใช้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาบุคลากรให้รู้คุณค่าและเก่งบริหารเวลา มีระเบียบวินัย และสามารถเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง เช่น ความขี้เกียจ โอ้อวด เย่อหยิ่ง เป็นต้น ด้านการบริหารวิชาการ 1) พัฒนาวิธีการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้มีความหลากหลาย เพื่อพัฒนานักเรียนให้รู้คุณค่าและเก่งบริหารเวลา ใฝ่เรียนรู้และมีสติปัญญาล้ำเลิศ สามารถเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง และสามารถประกอบอาชีพการงานที่ดี 2) พัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการบูรณาการคำสอนอิสลามในรายวิชาสามัญและบูรณาการความรู้ร่วมสมัยในรายวิชาศาสนา และในกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนรู้คุณค่าและเก่งบริหารเวลา สามารถเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง
Other Abstract: This research aims to 1) study the framework of Assalaam Network School Management, and the Good Muslim Characteristics Framework. 2) Analysis of the needs of developing Assalam network school Management based on the concept of good Muslim characteristics. 3) present the proposed guildlines for developing Assalam network school Management based on the concept of good Muslim characteristics. Using descriptive research methods. The sample group was 37 Assalam network school in 3 southern border provinces. There were 259 informants consisting of school director, deputy Director of Human Resources, deputy director of academic affairs, head of department, and student. Data were collected using evaluation form of the conceptual framework, questionnaires and the appropriateness and feasibility assessment form. The data were analyzed by finding percentage, mean, standard deviation, PNImodified, Mode, and Content Analysis. The research results found that 1) The framework of School Management consists of Personnel administration and academic administration. Personnel administration consists of the personnel development during working hours and the development of personnel after working hours. academic administration consists of the development of curriculum, teaching and learning, assessment and evaluation, education supervision. The framework of Good Muslim Characteristics consists of 10 components: have true and pure faith, Practice the religion according to the example, have good manners and beauty, Willing to learn and excellent intelligence, have good health, can have a good career, benefit others, Overcome one's selfish feelings, Value and good time management, discipline. 2) The needs was found that personnel development In the part of personnel development after working hours has the highest order of needs. academic administration In the part of assessment and evaluation has the highest order of needs. and when considering the Good Muslim Characteristics it was found that knowing the value and good at managing time. has the highest order of needs. 3) the proposed guildlines for developing Assalam network school Management based on the concept of good Muslim characteristics consists of 4 main approaches as follows: Personnel Development 1) Promote the development of personnel outside working hours by allowing personnel to learn on their own study visit and a study group (Halakah) to develop personnel to know their values and to be good at managing their time. Willing to learn and excellent intelligence and discipline. 2) Promote the development of personnel during the operation with special assignments and using a nanny system To develop personnel to know the value and good at managing time discipline and can overcome their own inferiority such as laziness, arrogance, arrogance, etc. Academic administration 1) Develop methods for measuring and evaluating learning outcomes. to be diverse To develop students to know the value and good at managing time. Willing to learn and having excellent intelligence able to overcome their own ambitions and can have a good career. 2) Develop teaching and learning management by focusing on the integration of Islamic teachings in common courses and the integration of contemporary knowledge in religious courses and in extra-curricular activities for students to know the value and to be good at managing their time able to overcome their own ambitions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76767
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.860
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.860
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280121427.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.