Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76780
Title: | แนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครู |
Other Titles: | Guidelines for enhancing classroom assessment growth mindset and practice of teachers |
Authors: | กัญภ์หัชรินดา เภสัชชา |
Advisors: | กนิษฐ์ ศรีเคลือบ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมิน เป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครูที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะของกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนที่มีภูมิหลังต่างกันของครู 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดกรอบคิดด้านการวัดและประเมินผลและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู โดยสร้างเครื่องมือวัดกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ที่อิงแนวคิดของการวัดแบบพหุมิติภายในข้อคำถาม (multidimensional within item) มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงและความตรงเชิงเนื้อหา และความตรงโครงสร้างใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือที่พัฒนามาจากระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ตัวอย่างวิจัยได้แก่ ครูในกรุงเทพมหานคร จำนวน 287 คน และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียน โดยใช้ผลจากการวิจัยระยะที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาเครื่องมือ พบว่า มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งความเที่ยง (Omega= .864 - .917) ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.67-1.00) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ χ2 (41, N = 179) = 45.65, p = .07, DIC = 2286.37 , BIC = 2427.26 ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบของกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู มีค่าอยู่ในช่วง .40 - .78 และในมิติของการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 38 - .82. 2. ผลการวิเคราะห์ลักษณะกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูมีระดับกรอบคิดแบบเติบโตต่ำ (ร้อยละ 59.23) มากกว่า กลุ่มที่มีระดับกรอบคิดแบบเติบโตสูง(ร้อยละ 40.77) เมื่อเปรียบเทียบภูมิหลังต่างกันของครู พบว่า ไม่แตกกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรในโมเดลเชิงสาเหตุและผล ของกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู พบว่า การสนับสนุนของโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงต่อความรอบรู้ในการประเมิน (β= 0.57) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู (β= 0.52) และการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู (β= 0.53) ผ่านทางความรอบรู้ในการประเมิน อีกทั้งความรอบรู้ในการประเมินมีอิทธิพลทางตรงต่อกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู (β= 0.70) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู (β= 0.70) ผ่านทางกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู และกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครูมีอิทธิพลทางตรงต่อการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู (β= 0.97). 4. แนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครู การปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนผู้เรียนที่ดีของครูจะเกิดขึ้นได้ควรจะมีการสนับสนุนของโรงเรียนที่ส่งเสริมให้ครูเกิดความรอบรู้ในการประเมิน ซึ่งทำให้ครูเกิดกรอบคิดแบบเติบโตด้านการประเมินในชั้นเรียน นำไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้านการประเมินในชั้นเรียน การส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิหลังด้านการวัดและประเมิน รวมถึงบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The teacher's mindset and practice of the classroom assessment are important that develop the student learning. Therefore, there should be guidelines to encourage the teacher's mindset and practice of the classroom assessment that be useful and practical. The objective of this research were: 1) to develop the teacher's mindset and practice of the classroom assessment questionnaire. 2) to analyze and compare the teacher's mindset and practice of the classroom assessment from the different backgrounds of the teachers. 3) to analyze the factors of affecting the teacher's mindset and practice of the classroom assessment. 4) to suggest the teacher's mindset and practice of the classroom assessment guidelines for teachers. The research was divided into three phases. The first phase was to develop the teacher's mindset and practice of the classroom assessment questionnaire by multidimensional within item. It is a rating scale. The validation of the questionnaire was to approve its reliability, content validity, and construct validity by confirmatory factor analysis. The second phase was to analyze the factors of affecting the teacher's mindset and practice of the classroom assessment. The data have collected by a questionnaire that develop from the first phase and then analyzed with descriptive statistics and the structural equation modeling (SEM). The samples were 287 teachers in Bangkok. The third phase was to develop the teacher's mindset and practice of the classroom assessment guidelines by using the research findings in the second phase. The research findings were as followed: 1. The development a questionnaire found that the teacher's mindset and practice of the classroom assessment questionnaire was consistent in reliability (Omega= .864 - .917), content validity (IOC= 0.67-1.00), and the model fit the empirical data (χ2 (41, N = 179) = 45.65, p = .07, DIC = 2286.37 , BIC = 2427.26). When consider the weights of elements, it was found that the teacher's mindset elements had values between .40-.78, and the practice of the classroom assessment had values between .38-.82. 2. The teacher's mindset and practice of the classroom assessment found that the teacher had a low- growth mindset (59.23%) higher than a high- growth mindset (40.77%). When comparing the different backgrounds of the teachers, it was found that they were not significantly different at the statistical not significant. 3. The result of analysis the influence of the teacher's mindset and practice of the classroom assessment model with the structural equation modeling (SEM) found that the school support had a direct influence on assessment literacy (β= 0.57), an indirect influence on teachers’ classroom assessment mindset (β= 0.52), and the teacher classroom assessment practices (β= 0.53) through assessment knowledge. Moreover, the assessment knowledge had a direct influence on the teacher's classroom assessment mindset (β = 0.70), an indirect influence on teacher's classroom assessment practice (β = 0.70) through the teachers’ classroom assessment mindset, And the teachers' classroom assessment mindset had a direct influence on teachers' classroom assessment practices (β = 0.97). 4. The teacher's mindset and practice of the classroom assessment guidelines for teachers, the teachers’ practice of the classroom assessment should be school support that encourage teachers to be assessment knowledge that leading to a good practice about the measurement and assessment of students. The teacher's a growth mindset and practice of the classroom assessment should be considered differences in the measurement and assessment background and the characteristics of school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76780 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1060 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1060 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280185627.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.