Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76930
Title: การพัฒนาระบบกล้องคู่สำหรับการถ่ายภาพเชิงเทคนิค
Other Titles: Development of dual camera system for technical photography
Authors: ปกรณ์สิทธิ์ พ่วงโต
Advisors: ชวาล คูร์พิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การถ่ายภาพเชิงเทคนิคเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ชิ้นงานศิลปะแบบไม่ทำลายตัวอย่าง ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และประเมินงานศิลปะ เช่น การตรวจสอบร่องรอยการซ่อมแซมชิ้นงาน การเลือกวิธีอนุรักษ์ให้เหมาะสมกับสภาพชิ้นงานนั้น การระบุกลุ่มของสารสีที่ใช้ในชิ้นงาน และการดูสิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้ชั้นสีที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น การถ่ายภาพเชิงเทคนิคนี้ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัลที่ดัดแปลงโดยถอดฟิลเตอร์ที่ให้แสงขาวผ่านออก ทำให้กล้องถ่ายภาพสามารถเก็บข้อมูลคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 360 - 1,000 นาโนเมตร วิธีการถ่ายภาพสำหรับเทคนิคนี้ใช้แหล่งแสงและฟิลเตอร์สามชนิดที่แตกต่างกันจึงทำให้ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแหล่งแสงและฟิลเตอร์ในขั้นตอนการถ่ายภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบถ่ายภาพสำหรับการถ่ายภาพเชิงเทคนิค เพื่อลดเวลาที่ใช้และลดความยุ่งยากในขั้นตอนการถ่ายภาพ ด้วยการสร้างระบบกล้องคู่ ถ่ายภาพเชิงเทคนิคโดยใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัลปกติกับกล้องถ่ายภาพดิจิทัลที่ถูกดัดแปลงที่สามารถถ่ายภาพได้พร้อมกัน เปรียบเทียบระบบที่ใช้กล้องดิจิทัลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวประสิทธิภาพสูง (DSLR) กับระบบที่ใช้กล้องดิจิทัลไร้กระจก ใช้เลนส์มุมกว้างและเลนส์มุมปกติ ระบบแนวตั้งและแนวนอน เปรียบเทียบคุณภาพของภาพ ทดสอบและแก้ไขความบิดเบี้ยวและปัญหาขอบมืด สร้างระบบกล้องคู่ 8 ระบบ เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนการกันภาพเหลื่อม กำหนดพื้นที่ใช้งานได้ สร้างตารางเปรียบเทียบระบบ ระบบที่ใช้กล้อง DSLR กับเลนส์มุมกว้างระบบแนวตั้งให้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด และเมื่อใช้ร่วมกับแหล่งแสงอินฟราเรด 850 นาโนเมตร จะสามารถลดเวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพได้ 47.1% เมื่อเทียบกับระบบกล้องเดี่ยว สามารถระบุสารสีได้ 4 ใน 5 ชนิด และได้สร้างโปรแกรมสำหรับการประมวลผลภาพจากระบบกล้องคู่
Other Abstract: Technical photography (TP) is a non-invasive technique used for analyzing an artwork to decide the conservation method, pigment classification, hidden detail revealing, and painting retouching. This technique requires a modified digital camera that removes a visible-pass filter to acquiring a set of broadband spectral image. The problem with this technique is that it takes time during the image acquiring process due to several combinations of light source and filter in order to collect all information in the painting. Our research aimed to develop a system that can reduce time in the image acquiring process by using one digital camera and one modified digital camera to acquired two images in different spectral bands simultaneously. Full-frame DSLR and a mirrorless camera with a wide-angle lens and normal-angle lens are compared in the topic of image quality. Lens distortion and vignette were tested and corrected. Eight dual-camera systems were created and compared in the topic of image registration error, utilized zone in order to choose the suitable system and a comparison table was created. Full-frame camera with wide-angle lens on the vertical system showed the best result. Together with a new technique using IR-850 light source, image acquisition time was reduced by 47.1% when compared to mono camera system. It can identify 4 of 5 pigments. Finally a GUI program was made to process the images.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76930
URI: https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.516
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.516
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270055023.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.