Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77303
Title: ภาวะโภชนาการและปริมาณสารอาหารที่ได้รับในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Nutritional status and nutrient intake in patients with chronic renal failure at King Chulalongkorn
Authors: อารยา แซ่เอี้ยว
คุณาวุธ จิรัฐติกร
ชนิดา อมรประภัสร์ชัย
Advisors: สุญาณี พงษ์ธนานิกร
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: suyanee.p@chula.ac.th
Subjects: ไต -- โรค
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- แง่โภชนาการ
Issue Date: 2558
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริโภคอาหารแสะ ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูทั่วไปของผู้ป่วย แบบบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมงและแบบบันทึกการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคใตเรื้อรั้ง มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 200 คน เป็นผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต 156 คน (ร้อยละ 78.0 ผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 34 คน (ร้อยละ 17.0) และผู้ป่วยได้รับการล้างไตทางช่องท้อง 10 คน (ร้อยละ 5.0! ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไตมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยได้รับการพอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.029) ในด้านการบริโภคอาหาร พบว่าผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไตได้รับปริมาณน้ำต่อวันมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของทั้งสามกลุ่มได้รับพลังงานรวมต่อวันต่ำกว่าที่แนะนำ และมีการบริโภคโปรตีนต่อวันที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ได้รับการล้างใตทางช่องท้องร้อยละ 70.0 ได้รับปริมาณโปรตีนต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมร้อยละ 41.2 ได้รับปริมาณโปรตีนตามปริมาณที่แนะนำและผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไดร้อยละ 48.7 ได้รับปริมาณโปรตีนสูงกว่าปริมาณที่แนะนำ เมื่อพิจารณาสัดส่วนของสารอาหารหลักพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบริโภคโปรตีนและไขมันในสัดส่วนที่เหมาะสม แต่รับประทานคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ต่ำ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องพบว่ามีภาวะโภชนาการขาด โดยมีการ บริโภคโปรตีน คารโบไฮเดรต และไขมันในปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ ในขณะที่ผู้ป่วยก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไตมีภาวะโภชนาการขาดเช่นเดียวกับผู้ป่วยอีกสองกลุ่ม แต่มีการบริโภคอาหารโปรตีนสูงกว่าปริมาณที่แนะนำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของทั้งสามกลุ่มได้รับปริมาณฟอสฟอร์สต่อวันอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ได้รับแคลเซียมต่ำกว่าปริมาณที่ควรได้รับ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ ทั้งก่อนและหลังการบำบัดทดแทนไต มีการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการที่ยังไม่เหมาะสม ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอการดำเนินไปของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
Other Abstract: This study aims to evaluate dietary intake and nutritional status in patients with chronic kidney disease (CKD) at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected using patient personal information record, 24-hour dietary recall record, and nutritional status assessment form. Two Hundred CKD patients were included in this study (156 pre-dialysis patients (78.0 %), 34 hemodialysis patients (17.0 %) and 10 peritoneal dialysis patients (5.0 %). The study revealed that the pre-dialysis patients had significantly higher average weight than the patients receiving hemodialysis treatment (p = 0.029). For dietary intake, it was found that the pre-dialysis patients had significantly higher water intake per day than the hemodialysis patients (p < 0.001). Most of the patients in three groups had total energy intake less than the recommendation, and their protein intakes were different. The results showed that 70.0 %o of peritoneal dialysis patients had lower amount of protein intake than their requirement, 41.2 % of hemodialysis patients consumed protein in recommended amount, and 48.7 % of pre-dialysis patients consumed higher amount of protein than recommendation. For macronutrient intake, it was found that the hemodialysis patients had proper portion of protein and fat intake, but low in carbohydrate. In the peritoneal dialysis patients, the study showed that they developed undernutrition as a result of low protein, carbohydrate and fat intakes. This was also found in the pre-dialysis patients, except for their higher-than-standard amount of protein. Phosphorus was properly consumed in all groups of patients while in the case of calcium, the patients received it less than the recommendation. This study demonstrated that CKD patients, both pre- and post-dialysis, had improper dietary intake and nutrition status. Thus, an appropriate advice on dietary consumption is highly recommended in order to slow down the progression of the disease and to prevent complications that might occur.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77303
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_1.16_2558 .pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.