Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77400
Title: แอปพลิเคชันสำหรับการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบนสมาร์ตโฟน
Other Titles: Health and Fitness applications for health promotion and prevention on smartphone
Authors: รัฐยา รัตนาพันธ์ณรงค์
วัจนี อมรวัชรพงศ์
อาชานนท์ สมศักดิ์
Advisors: อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: Application software
โปรแกรมประยุกต์
การออกกำลังกาย
Exercise
Issue Date: 2558
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาอำนวย ความสะดวกในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ตโฟนและแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา ด้านการสื่อสาร และด้านสุขภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมี แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจำนวนมาก จึงมีความน่าสนใจที่จะศึกษาเพื่อ ประเมินแอปพลิเคชันข้างต้นว่ามีความสอดคล้องกับเกณฑ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้นสุขภาพและมีความยากง่าย ของการใช้งานแอปพลิเคชันมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้ของผู้สนใจ การวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจแอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคบนสมาร์ตโฟนในระบบปฏิบัติการ OS และ Android ซึ่งจากการสำรวจภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พบแอปพลิเคชันใน 2 ระบบปฏิบัติการจำนวน 400 แอปพลิเคชัน และมี 25 แอปพลิเคชัน (iOS = 12, Android = 13) ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก หลังจากนั้นได้คัดเลือกแอปพลิเคชันโดยใช้เกณฑ์ Behavior Change Techniques (BCT) จำนวน 21 เทคนิค และนำแอปพลิคชันในแต่ละระบบปฏิบัติการที่ใช้เทคนิคตามเกณฑ์ BCT มาก ที่สุด 3 อันดับแรก (Android: Sworkit 7 Minute, Workout และ Endomondo; iOS: 7 Minute Workout Runkeeper และ Workout Trainer) รวมทั้งหมด 6 แอปพลิเคชันมาทดสอบ Usability Test โดยให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัย ทดลองใช้งานแอปพลิเคชันตามข้อปฏิบัติที่ผู้วิจัยกำหนด รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตหลักฐาน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การแสดงออกทางใบหน้า 2. การเคลื่อนไหวของนิ้วมือบนหน้าจอสมาร์ตโฟน 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งงาน ร่วมกับ การประเมินความยากง่ายของการใช้งานด้วยแบบประเมิน System Usability Scale (SUS) ผลการวิจัยพบว่าแอปพลิเคชันที่ผ่านกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกจำนวน 25 แอปพลิเคชันใช้เทคนิคตามเกณฑ์ BCT โดยเฉลี่ย 4 เทคนิค โดยแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ใช้เทคนิค BCT ที่เกี่ยวกับการกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมด้านสุขภาพ และเมื่อนำแอปพลิเคชันที่ใช้เทคนิค BCT สูงสุดจำนวน 6 แอปพลิเคชันมาประเมินความยากง่าย ในการใช้งาน พบว่ามีเพียงแอปพลิเคชันเดียว (Runkeeper) ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน SUS โดยพบว่าแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีปัญหาในด้านขั้นตอนการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันหลายตำแหน่ง และผู้ใช้ต้องเรียนรู้การใช้งานแอปพลิเคชันก่อนที่จะเริ่มใช้งาน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้จัดทำและเผยแพร่คู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน ผ่านทางเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้น
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77400
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_4.1_2558.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.