Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77673
Title: | รูปแบบองค์กรขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนTransit Oriented Development |
Authors: | รณกร ธีรเดชวิเศษไกร |
Advisors: | สําเรียง เมฆเกรียงไกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การขนส่งมวลชน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งมีหลักการในการพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้นและเพิ่มความหนาแน่นจากการใช้พื้นที่มากกว่าปกติ โดยมุ่งพัฒนาศูนย์กลางที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมบริเวณสถานีขนส่งมวลชน (Transit Station) หรือโดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน (Transit Corridor) เน้นการออกแบบการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (NMT) โดยเฉพาะการเดินเท้า (walking) และทางจักรยาน (Bicycling) ภายในรัศมี 500 - 800 เมตร จากสถานีขนส่งมวลชน รวมตลอดถึงการใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในท้ายที่สุด สำหรับประเทศไทย แนวความคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนนั้น เพิ่งจะปรากฏในความรับรู้ของประชาชนเมื่อไม่นานมานี้ และภาครัฐให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยกำหนดให้การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับประเทศและถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงคมนาคม โดยสะท้อนเจตนารมณ์การพัฒนาระบบขนส่งทางรางภายใต้แนวคิดการพัฒนาโลจิสติกส์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่ระบบราง และแม้ประเทศไทยจะมีการวางนโยบายจากภาครัฐตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ก็ตาม แต่การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ที่เกิดขึ้นกลับเป็นการพัฒนาที่เกิดจากปัจจัยการแข่งขันของภาคเอกชนโดยที่ภาครัฐไม่ได้ชี้นำ ทำให้การการพัฒนาโดยภาคเอกชนยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาในเชิงพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในแนวดิ่งที่มีราคาสูง และขาดความหลากหลายของการใช้ประโยชน์ในที่ดิน เนื่องจากภาคเอกชนจะต้องแบกรับภาระต้นทุนในการพัฒนาที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินบริเวณโดยรอบสถานีขนส่งมวลชนตามกลไกตลาด ซึ่งการพัฒนาในลักษณะดังกล่าวนั้น จะทำให้ภาคเอกชนสามารถแสวงหากำไรได้สูงสุดตามความมุ่งหมายของการประกอบธุรกิจในรูปแบบเอกชน มากกว่าการพัฒนาพื้นที่ตามแนวคิดของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ประกอบกับการพัฒนาในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้และเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างไปจากการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบทั่วไป ทำให้มาตรการทางกฎหมายที่รัฐใช้ในการควบคุมการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบัน ไม่สนองตอบต่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน และรัฐไม่สามารถที่จะควบคุมการพัฒนาให้เป็นไปตามแนวทางของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) อย่างเหมาะสมได้ เช่น การกำหนดจำนวนที่จอดรถต่อพื้นที่อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร การกำหนดอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) และส่วนเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นต้น ประกอบกับในการดำเนินกิจกรรมของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานและในหลายระดับ ซึ่งความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีชนส่งมวลชนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ การมีองค์กรที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายจากภาครัฐสู่การปฏิบัติ ตลอดจนวางแนวทางการพัฒนา กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา รวมถึงเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประสานความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง เป็นการเฉพาะ จึงเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีชนส่งมวลชน (TOD) สามารถก้าวหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ประเทศไทยควรต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งเป็นการเฉพาะ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตลอดจนมีกฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน และกำหนดมาตรการส่งเสริมให้แก่ภาคเอกชน เพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาในรูปแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77673 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.157 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.157 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280072134.pdf | 4.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.