Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77676
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์-
dc.contributor.authorรัฐพงษ์ วัฒนาพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-31T04:15:51Z-
dc.date.available2021-10-31T04:15:51Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77676-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโลกและต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการประมาณการว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจบนโลกใบนี้คือธุรกิจครอบครัว สำหรับประเทศไทย มีการประมาณว่า 72 เปอร์เซ็นต์ของระบบเศรษฐกิจไทยคือธุรกิจครอบครัว ธุรกิจครอบครัวเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยและทำให้เกิดการจ้างแรงงานมากมายเพื่อมาปฏิบัติการในองค์กรธุรกิจครอบครัวเหล่านี้ อาการส่งต่อธุรกิจครอบครัวไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และธุรกิจครอบครัวเกิดความล่มสลาย นอกจากจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยแล้วยังส่งผลต่อภาคแรงงานส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดภาวะการว่างงานและกลายเป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลที่ต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาและใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยเกิดคดีความมากมายที่สืบเนื่องมาจากการขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์การชิงอำนาจการบริหารงานระหว่างสมาชิกกันเอง โดยปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดในสมาชิกรุ่นที่ 2 เส้นทางให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวไปยังรุ่นที่ 3 เป็นไปได้ยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลย ความขัดแย้งกันในบางกรณีเป็นการฟ้องร้องกันและให้กฎหมายเป็นผู้ตัดสิน แต่ในบางกรณีก็บานปลายจนกระทบความสัมพันธ์ของครอบครัวจนเลือกที่จะใช้ความรุนแรงถึงขั้นจ้างวานฆ่าสมาชิกในครอบครัวเพื่อจบปัญหา ในขณะเดียวกันก็มีธุรกิจครอบครัวไทยที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่นความสามารถในการเป็นผู้บริหารเจ้าของกิจการและบริหารคนในครอบครัวไปพร้อมกัน ความสามารถของทายาทที่จะรับช่วงสืบทอดธุรกิจ ความสามารถในการบริหารความขัดแย้งเป็นต้น นอกจากให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวแล้ว ยังต้องมีการนำหลักและวิธีการทางกฎหมายเข้ามาจัดการและบังคับภายในองค์กรธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะลดความขัดแย้งในครอบครัวรวมถึงส่งเสริมให้ธุรกิจไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน กฎหมายอาจเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นในการสร้างแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวรวมถึงช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวไทยดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและจากการสันนิษฐานนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาเพื่อค้นหาเรื่อง การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัว โดยกำหนดคำถามวิจัยไว้ว่า การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจครอบครัวได้อย่างแท้จริง และควรเผยแผ่ ชักจูงให้ธุรกิจครอบครัวไทยหันมาให้ความสำคัญและเริ่มจัดทำแผนการสืบทอดธุรกิจรวมถึงเอกสารทางกฎหมาย เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางบังคับให้สมาชิกในครอบครัวหลีกเลี่ยงการสร้างปัญหาให้กับธุรกิจ เป็นแผนรับมือเบื้องต้นเมื่อเกิดปัญหา และหากปัญหานั้นไม่สามารถจัดการกันได้เองภายในครอบครัว ยังสามารถนำเอกสารที่สร้างขึ้นจากกฎหมายนี้เข้าจัดการแทนได้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.127-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธุรกิจครอบครัว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectผู้ถือหุ้นen_US
dc.titleการจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัวen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortaweejamsup@hotmail.com-
dc.subject.keywordลดความขัดแย้งในครอบครัวen_US
dc.subject.keywordความขัดแย้งทางผลประโยชน์en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.127-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280198634.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.