Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77678
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล-
dc.contributor.authorศุภมาศ พงษ์ภาคิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-31T04:56:03Z-
dc.date.available2021-10-31T04:56:03Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77678-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป ใน หลายๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกรรมจากการ ติดต่อโดยตรง ไปสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีสถานะทางกฎหมาย จึงมีการตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น มีเจตนารมณ์เพื่อรับรอง การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมการทำธุรกรรมของผู้ประกอบการเอกชนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการมุ่งศึกษาปัญหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส พ.ศ. 2544 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมเบื้องต้นในการปรับปรุงเพิ่มเติมแก้ไขกฎหมายและ แนวทางการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม ในมุมมองของภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ พบว่า ผู้ประกอบการเห็นถึงความจำเป็นของการ ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แต่ในมิติของการบังคับ ใช้กฎหมายพบว่า พบว่า ปัจจุบันกฎหมายยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความไม่พร้อม ของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ สามารถรับรองธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดย ผลักดันภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้สร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรภาครัฐในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจ รวมไปถึงความจำเป็นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การรับรองพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การปฏิบัติจริงสอดคล้องกับกับเจตนารมณ์ทางกฎหมาย แม้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีเจตนารมณ์เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของ ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความเท่าเทียมทางกฎหมายให้เท่าเทียมกับข้อความที่อยู่ในรูปของ เอกสารกระดาษ การเพิ่มเติมส่วนของกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายให้ชัดเจนมากขึ้น โดยการมีหลักเกณฑ์ที่ ชัดเจนในการเปรียบเทียบระหว่างผลกระทบและผลสัมฤทธิ์ รวมถึงแนวทางในการนำผลสัมฤทธิ์มาไปพิจารณา ต่อไป การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลและธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ หน่วยงานรัฐควรมีการ ส่งเสริมและสนันสนุนให้ผู้ประกอบการมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ประกอบการ โดยออกแนวทางหรือมาตรฐานที่ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละธุรกิจen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.129-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subjectกฎหมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจen_US
dc.titleการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไข เพิ่มเติม ในมุมมองของภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpeerapat.ch@chula.ac.th-
dc.subject.keywordธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.subject.keywordการประเมินผลสัมฤทธิ์ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.129-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280080134.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.