Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77810
Title: แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพในอนาคต
Other Titles: Guidelines for developing career education curriculum in schools for enhancing future career skills
Authors: วัชรสินธุ์ เพ็งบุบผา
Advisors: กนิษฐ์ ศรีเคลือบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตตามมุมมองของผู้ประกอบการ 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนของครูและระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนตามหลักสูตรการงานอาชีพในปัจจุบันกำหนดและตามมุมมองของผู้ประกอบการ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตตามมองของผู้ประกอบการ ซึ่งตัวอย่างวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคต โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนของครูและระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนตามหลักสูตรการงานอาชีพในปัจจุบันกำหนดและตามมุมมองของผู้ประกอบการ ซึ่งตัวอย่างวิจัยได้แก่ ครูวิชาการงานอาชีพจำนวน 12 คน และ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 301 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยกับครูวิชาการงานอาชีพ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพของการสอนทักษะการประกอบอาชีพ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพของทักษะการประกอบอาชีพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ระยะที่ 3 การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียน ซึ่งตัวอย่างวิจัย ได้แก่ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการจำนวน 1 คน ครูวิชาการงานอาชีพจำนวน 1 คน และผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียนอนาคต โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ทักษะการประกอบอาชีพในอนาคตซึ่งจัดลำดับความสำคัญจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามมุมมองของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 11 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสารอย่างใส่ใจ ทักษะการคล่องตัว ทักษะการประสานงาน ทักษะการกระหายเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการบริหารงาน ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการคิดนวัตกรรม ทักษะส่วนบุคคล ทักษะการรู้ทันเทคโนโลยี และประสบการณ์ในอาชีพ 2) การจัดการเรียนการสอนของครูและระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนตามหลักสูตรการงานอาชีพในปัจจุบันกำหนดและตามมุมมองของผู้ประกอบการ พบว่า ระดับการสอนทักษะการประกอบอาชีพของครูมัธยมศึกษาวิชาการงานอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุดแต่ระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ทักษะการประสานงาน ทักษะการบริหารงาน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการกระหายเรียนรู้ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการรู้ทันเทคโนโลยี และทักษะส่วนบุคคล และระดับการสอนทักษะการประกอบอาชีพของครูมัธยมศึกษาวิชาการงานอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุดแต่ระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ทักษะการคิดนวัตกรรม ทักษะการคล่องตัว ประสบการณ์ในอาชีพ รวมถึงระดับการสอนทักษะการประกอบอาชีพของครูมัธยมศึกษาวิชาการงานอาชีพอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ทักษะการสื่อสารอย่างใส่ใจแต่ระดับทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 3) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพที่สำคัญในอนาคตแก่ผู้เรียน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาการงานอาชีพในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพในอนาคตแก่ผู้เรียน
Other Abstract: This research aimed to 1) analyze important of career skills in the modern age from entrepreneurs’ perspective. 2) analyze the teacher instruction and the level of career skills according to the career curriculum and perspective of entrepreneurs. and 3) present the guidelines for the improvement of career curriculum in the school to enhance important of career skills for the students in the future. This research procedure was separated into 3 phases. The first phase was  analyzing the important of career skills in the modern age from entrepreneurs’ perspective.  The samples were 3 entrepreneurs. The data was collected by using interview. The data was analyzed using content analysis. The second phase was   analyzing the career instruction which students were enhanced in the school. The samples were 12 teachers and 301 students in grade 12. The data was collected by using questionnaires for teachers and students. The data was analyzed using descriptive statistics. The third phase was presenting the guidelines to enhance the career curriculum for consistent the career skills in the future. The samples were the deputy director , the career teacher and the entrepreneur. The data was collected by using interview. The data was analyzed using content analysis. The findings of the study were as follow: 1) The content analysis found the 11  top most priorities skills from entrepreneur’s perspective : mindful communication skills, agility skills, coordination skills, learning maniac skills, problem solving skills, managerial skills, entrepreneurial skills, innovative thinking skills, personal skills, technological skills and career experience were the important skills in the modern age from an entrepreneur's perspective. 2) The teachers’ instruction and the level of career skills of students in the present and the entrepreneurs’ perspective found that the level of career skills of the students were at the medium level while the level of career skills in the teachers were at the high level in term of coordination skills , managerial skills, problem solving skills, learning maniac skills, entrepreneurial skills, technological skill and personal skills. The level of students’ career skills were at the low level while the level of  teachers’ career skills were at the highest level in term of innovative thinking skills, agility skill, career experience. The level of students’ career skills were at the medium level while the level of the teachers’instruction were at the high level in term of mindful communication skills. 3) The guideline of enhancing career curriculum for the students in school found that the experts agree with the guidelines of career curriculum for the students’ career skills improvement in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77810
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.887
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.887
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280134627.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.