Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77882
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชกับการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ณ โรงพยาบาลศรีธัญญา
Other Titles: Association between antipsychotic drug use and hyponatremia in Srithanya hospital
Authors: แพรวา เพ่งพิศ
พัชรินทร์ ประภัสสรกุล
เมธาวี หาญสิทธานนท์
Advisors: สันทัด จันทร์ประภาพ
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: โรคจิต -- การรักษาด้วยยา
Psychoses -- Chemotherapy
Issue Date: 2558
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มยาและจำนวนยาที่ใช้ร่วมกันในรักษาโรค ทางจิตเวชกับการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลศรีธัญญาที่มีผลตรวจระดับโซเดียมในเลือดที่ต่ำกว่า 135 mmol/l ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2559 ทั้งหมด 103 ราย เป็นเพศชาย 78 ราย (75.79) เพศหญิง 25 ราย (24.3%) โดยมีอายุ เฉลี่ยของผู้ป่วย 47 ±13 ปี พบผู้ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) มากที่สุด 70 ราย และโรคร่วมที่พบมาก ที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง 22 ราย จากผลการวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชตั้งแต่ 1 ถึง 8 รายการ โดยผู้ป่วยใช้ยาเพียงรายการเดียว 9 ราย และใช้ยาร่วมกัน 94 ร้าย สำหรับจำนวนรายการยาที่ใช้ร่วมกันมากที่สุด คือ 8 รายการในผู้ป่วย 1 ราย จำนวนรายการยาที่มีการสั่งจ่ายมากที่สุดคือ 3 รายการ 32 ราย โดยกลุ่มยาทางจิต เวชที่ผู้ป่วยได้รับคือ antipsychotic 149 รายการ (42.69%) anticholinergic 63 รายการ (18.05%) mood stabilizer 43 รายการ (12.32%) antianxiety 53 รายการ (15.19%) และ antidepressant 41 รายการ (11.75%) เมื่อพิจารณากลุ่มยากับการเกิดภาวะโขเดียมในเลือดต่ำพบว่าเกิดขึ้นในทุกกลุ่มยาทางจิตเวขที่แพทย์สั่ง จ่าย นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วย 31 ราย (30.09%) แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่เป็นผลมาจาก ภาวะการดื่มน้ำมากผิดปกติ (polydipsia) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรุนแรงของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอยู่ที่ระดับ รุนแรงน้อย 65.05% รองลงมาคือรุนแรงปานกลาง 31.07% และรุนแรงมาก 3.88% จากผลการวิจัยสามารถสรุป ได้ว่าภาวะโซเดียมในเลือดต่ำสามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาจิตเวชทุกกลุ่มและ จำนวนรายการยาทางจิตเวชที่ ได้รับไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดระดับโซเดียมในต่ำเนื่องจากภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นได้ไม่ว่าผู้ป่วยจะได้รับยา จำนวน 1 รายการหรือมากกว่า
Other Abstract: The project aims to investigate the relationship between groups of antipsychotic drugs used and number of antipsychotics prescribed for treatment with the occurring of hyponatremia by collecting medical records from inpatient department and outpatient department at Srithanya Hospital from 1 August 2014 to 8 February 2016. All of 103 patients have records of sodium level in blood <135 mmol/l. The patients are male 78 patients (75.7%), female 25 patients (24.3%) with average ages 47±13 years. Schizophrenia has been found the most in 70 patients and the most A comorbid found is hypertension in 22 patients. The results show that 1 patient took antipsychotics from 1 drug to 8 drugs. 9 patients received monotherapy and 94 patients received combination therapy. The highest number of drugs used in combination therapy is 8 drugs in 1 patient. Number of drugs prescribed for combination therapy the most are 3 drugs in 32 patients. Groups of antipsychotic drugs prescribed are as follows: antipsychotic 42.69%, anticholinergic 18.05%, mood stabilizer 12.32%, anti anxiety 15.19% and antidepressant 11.75%. Taken into account groups of antipsychotic drugs used with hyponatremia, it has been found that hyponatremia can be detected in every group of antipsychotics used. Furthermore, 30.09% have hyponatremia secondary to polydipsia diagnosed by the physicians. In addition 65.05% had mild hyponatremia. 31.07% had moderate hyponatremia and 3.88% had severe hyponatremia. Hyponatremia was solved by the following measurements: symptomatic treatments in 70.87%, no need for treatment in 20.39% and refer to another hospitals in 8.74%. From the results, it can be concluded that hyponatremia can occur with any group of antipsychotics used and number of antipsychotic drugs prescribed has no relation with hyponatremia occurred due to the fact that hyponatremia can occur in patients received 1 drug or more.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77882
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_1.22_2558.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.