Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/784
Title: การอภิวิเคราะห์และการสังเคราะห์งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระหว่างปี พ.ศ. 2515-2530 : รายงานวิจัย
Other Titles: Meta-analysis and research synthesis study of the teaching and learning research works done during 1972-1987
Authors: สุพัฒน์ สุกมลสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาข้อสรุปต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจากงานวิจัยต่าง ๆ ในระยะ 16 ปีที่แล้วมา และเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของงานวิจัยดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร โดยวิธีอภิวิเคราะห์และการสังเคราะห์ผลการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ใช้ตัวอย่างงานวิจัย 335 เรื่องจากประชากรเชิงนิยาม 425 เรื่อง ที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนิสิตปริญญาโทและของอาจารย์สถาบันภาษา ซึ่งทำแล้ว เสร็จในระหว่างปี พ.ศ. 2515-2530 สถิติที่ใช้ได้แก่ t-test, F-test, z-test, X[square]-test และสถิติเชิงบรรยายต่าง ๆ ผลการวิจัยที่สำคัญ คือ 1. เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบการฟังโดยตรง นักเรียนในระดับชั้น ม.6 ในกทม. มีศักย์ภาพทางการสื่อสารด้านการฟังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ การทดสอบการฟังด้วยแบบวัดโดยตรงและโดยทางอ้อมใช้แทนกันไม่ได้ 2. นักเรียนในระดับชั้น ม.5 ทุกสานวิชา มีความสามารถทางโครงสร้างทางภาษาในระดับต่ำ ความสามารถนี้มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านการอ่านและเขียนในระดับปานกลาง 3. นักเรียนระดับชั้น ม. 6 สายอาชีพ มีความสามารถทั่วไปทางภาษาด้านการอ่าน ฟัง พูด และเขียนค่อนข้างต่ำมาก และความสามารถเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง 4. บทเรียนโปรแกรมมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนโครงสร้างทางภาษามากเพราะทำให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิผลเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญทุกคน 5. ผลการทดสอบการฟังด้วยแบบทดสอบโคลซและแบบทดสอบแบบเลือกตอบสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง แต่ผลการทดสอบการอ่าน โครงสร้างภาษา การเขียน และคำศัพท์ ด้วยแบบทดสอบทั้ง 2 ชนิดสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง 6. ความถนัดทางภาษา เจตคติและความสนใจมีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิผลในการเรียนภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ แต่แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิผลการเรียนในระดับปานกลาง 7. งานวิจัยโดยมากเกี่ยวกับตัวอย่างในระดับมัธยมศึกษามากที่สุด เกี่ยวข้องกับการอ่านมากที่สุด เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมากที่สุด และวิจัยเกี่ยวกับผู้เรียนมากที่สุด 8. งานวิจัยจำนวนมากมีความหลากหลายในด้านเนื้อหาสาระ ทำให้งานวิจัยในแต่ละเรื่องมีจำนวนน้อยเกินกว่าที่จะทำการอภิวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์ผลการวิจัยให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้ จึงต้องอาศัยการบรรยายสรุปผลการวิจัยแทน
Other Abstract: The main purposes of this study were to find some conclusions derived from the teaching and learning research works done within the last 16 years and to study the state of the art of the research works in the mentioned field. Out of 425 defined population, the research works done mainly by master degree students and some of the Language Institute instructors, 335 topics were used as samples in the study. They were analyzed and synthesized by means of various types of meta-analysis and research synthesis using t-tests, F-test, z-tests, x[square]-tests and descriptive statistics. The findings can be summarized as follows: 1. When tested by direct tests the listening communicative competence of M.6 students in Bangkok is rather low. The direct and indirect testing results of the mentioned ability are not interchangeable. 2. The grammatical knowledge and ability on M.5 students in any academic streams is low and it correlates moderately with reading and writing abilities. 3. The general English proficiency inreading, listening, speaking and writing of vocational M.6 students is rather very low and the mentioned abilities correlate each moderately. 4. Programmed learning is very useful for students in learning English grammar, since it makes them all gain grammatical knowledge a lot and significantly . 5. The correlation between the test results from listening tests and multiple-choice tests is rather high, but those from reading, grammatical, writing and vocabulary tests by the 2 techniques are moderate. 6. Language apitudes, attitudes and interests correlates rather low with student's English achievement, but motivation has a rather moderate correlation with the achievement. 7. The majority of the research works deal with the subjects in secondary schools (50.45%) and almost half of them are survey researchers (46.57%). The greatest number among some 14 major research areas is reading (16.17%) and the most popular research subjects are learners (44.78%) 8. There are so many research topics that few of them can be grouped together and , therefore, some meta-analyses or research syntheses are not applicable and descriptions of the findings are provided instead.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/784
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supat(meta).pdf23.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.